สถานีกลางบางซื่อ ศูนย์กลางการคมนาคมแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ
สถานีกลางบางซื่อ ศูนย์กลางการคมนาคมแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ
เป็นอย่างที่รู้โดยทั่วกันว่า “สถานีกลางบางซื่อ” จะเปิดให้บริการแบบเต็มรูปแบบในปี 2564 นี้ มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 274,192
ตารางเมตร ซึ่งเป็นศูนย์กลางระบบราง ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและใหญ่ที่สุดในอาเซียน และที่นี่ได้รวบรวมระบบขนส่ง
สาธารณะอาทิ รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางไกล รถไฟชานเมือง แอร์พอร์ตเรล ลิงก์รถไฟฟ้าเชื่อมสนามบิน เป็นต้น นอกจากนี้
สถานีกลางบางซื่อ ยังเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน ้าเงิน (สถานีบางซื่อ) ที่สามารถเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองได้อย่างรวดเร็วและ
สะดวกอีกด้วย รวมไปถึงการเดินทางไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ภายในประเทศ
หาก สถานีกลางบางซื่อ ได้เปิดอย่างเป็นทางการแล้วจะท าให้บริเวณโดยรอบและตลอดเส้นทางแนวรถไฟฟ้าได้รับอิทธิพล
ความเจริญและยังรวมไปถึงพื้นที่ใกล้เคียง ที่รายล้อมไปด้วยสิ่งอ านวยความสะดวกต่าง ๆ อย่างครบครัน ควบคู่ไปกับการ
ขยายตัวของเมืองอีกทั้งเศรษฐกิจจะเติบโตอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น ทางการค้า การลงทุน และ การท่องเที่ยวซึ่งจะสามารถ
ช่วยขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
ซึ่ง สถานีกลางบางซื่อ อาคารโดยสารขนาดใหญ่ ที่มีทั้งหมด 4 ชั้น ได้แก่
– ชั้นใต้ดิน เป็นพื้นที่ลานจอดรถ ซึ่งสามารถรองรับได้ถึงจ านวน 1,700 คัน
– ชั้นที่1 เป็นพื้นที่ห้องจ าหน่ายตั๋วโดยสาร พื้นที่พักส าหรับผู้โดยสาร ร้านค้า อีกทั้งยังเป็นจุดเชื่อมต่อ กับ
รถไฟฟ้าสายสีน ้าเงิน , รถโดยสารสาธารณะขสมก. และ บขส.
– ชั้นที่ 2 เป็นชานชาลาของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงและรถไฟทางไกล
– ชั้นที่3 เป็นชานชาลาของรถไฟความเร็วสูงและรถไฟเชื่อมสนามบิน
สถานีกลางบางซื่อ มีทั้งหมด 24ชานชาลา (ไม่รวมสถานีใต้ดิน) ได้แก่
ชานชาลา 1,2 : รถไฟทางไกลมุ่งหน้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชานชาลา 3, 4 : รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม
ชานชาลา 5, 6 : รถไฟทางไกลมุ่งหน้าสู่ภาคเหนือ
ชานชาลา 7, 8 : รถไฟทางไกลมุ่งหน้าสู่ภาคตะวันออก
ชานชาลา 9, 10 : รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน
ชานชาลา 11, 12 : รถไฟทางไกลมุ่งหน้าสู่ภาคใต้
ชานชาลา 13, 14 : รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน
ชานชาลา 15, 16 รถไฟความเร็วสูงมุ่งหน้าสู่ภาคอีสาน
ชานชาลา 17, 18 รถไฟความเร็วสูงมุ่งหน้าสู่ภาคอีสาน
ชานชาลา 19, 20 รถไฟความเร็วสูงมุ่งหน้าสู่ภาคเหนือ
ชานชาลา 21, 22 รถไฟความเร็วสูงมุ่งหน้าสู่ภาคใต้
ชานชาลา 23, 24 รถไฟความเร็วสูงมุ่งหน้าสู่ภาคใต้
รถไฟความเร็วสูง
รถไฟความเร็วสูง มีทั้งหมด 3 สาย ได้แก่
1. รถไฟความเร็วสูงสายอีสาน
2. รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ
3. รถไฟความเร็วสูงสายใต้
รถไฟทางไกล
รถไฟทางไกล แบ่งออกเป็น 4 สาย ได้แก่
1. รถไฟทางไกลสายตะวันออกเฉียงเหนือ
2. รถไฟทางไกลสายเหนือ
3. รถไฟทางไกลสายตะวันออก
4. รถไฟทางไกลสายใต้
รถไฟฟ้าชานเมือง
รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต) ประกอบไปด้วย 13 สถานี ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 สายด้วยกัน
ได้แก่รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม และ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน
1. รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต ซึ่งในอนาคตจะมีโครงการส่วนต่อขยายเป็น บ้านภาชี–ปากท่อเพิ่ม
ความสะดวกสบายให้แก่ผู้ที่สัญจรต้องการเดินทางระหว่างจังหวัด
2. รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน)และในอนาคตจะมีโครงการส่วนต่อขยาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ได้แก่ 1ตลิ่งชัน-ศาลายา และ ตลิ่งชัน-ศิริราช
แอร์พอรตเรล ลิงก์
ในอนาคต แอร์พอตเรล ลิงก์ จะมีส่วนต่อขยาย 5 สถานี ได้แก่ 1. สถานีราชวิถี 2. สถานีกลางบางซื่อ 3. สถานีบางเขน 4.
สถานีหลักสี่5. สถานีดอนเมืองซึ่งสามารถเดินทางจากสถานีกลางบางซื่อไปยังท่าอากาศยานดอนเมืองได้อย่างรวดเร็ว
รถไฟเชอื่ มสนามบนิ
รถไฟความเร็วสูง เชื่อมต่อ 3 สนามบิน (ท่าอากาศยานดอนเมือง – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ- ท่าอากาศยานอู่ตะเภา)
ประกอบไปด้วย 9 สถานีได้แก่ 1. สถานีดอนเมือง 2.สถานีบางซื่อ 3.สถานีมักกะสัน 4.สถานีสุวรรณภูมิ 5. สถานีฉะเชิงเทรา
6. สถานีชลบุรี 7. สถานีศรีราชา 8. สถานีพัทยา 9. สถานีอู่ตะเภา
รถไฟฟ้าสายสีนา ้เงนิ (สถานีบางซอื่ )
สถานีกลางบางซื่อ เป็นจุดเชื่อมต่อไปรถไฟฟ้าสายสีน ้าเงิน สถานีบางซื่อ (บางซื่อ-ท่าพระ) ซึ่งสามารถเดินทางไปยังฝั่งธนบุรีได้
อย่างสะดวกสบาย
รถโดยสารขสมก. และ บขส.
สถานีกลางบางซื่อ มีจุดเชื่อมต่อไปยัง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) อยู่ชั้นที่ 1 ของ สถานีกลางบางซื่อ
เว็บไซต์ ประกาศ ซื้อ ขาย บ้าน มือ1 มือ2 : Hubzoomer.com
ติดตามข่าวสาร รีวิวบ้านและคอนโด สาระน่ารู้ : Homezoomer