อัพเดทสายรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ-ปริมณฑล 2022
อัพเดทสายรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ-ปริมณฑล 2022
ปัจจุบันระบบขนส่งสาธารณะมีบทบาทที่สำคัญต่อชีวิตคนเมืองไม่น้อย โดยเฉพาะ “รถไฟฟ้าสาธารณะ” ซึ่งถือว่าเป็นระบบขนส่งทางเลือกที่สามารถตอบโจทย์ชีวิตของคนเมืองได้ดีที่สุดในขณะนี้เลยก็ว่าได้ ช่วยให้เลี่ยงการจราจรที่ติดขัดทำให้ถึงที่หมายได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเดินทางไปเรียน ไปทำงาน รวมถึงการไปเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ ในเมืองด้วย
ฉะนั้นจึงปฎิเสธไม่ได้เลยว่า “รถไฟฟ้า” นั้นมีความสำคัญกับคนเมืองไม่น้อย ซึ่งในปัจจุบันระบบขนส่งรถไฟฟ้าก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่กำลังก่อสร้างและมีแผนที่จะเปิดให้ใช้บริการในอนาคตมากมายหลายสาย ซึ่งในอนาคตจะทำให้การคมนาคมในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลนั้นมีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น
วันนี้ Homezoomer เลยอยากจะมาอัพเดทสายรถไฟฟ้าทั้งหมดในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ทั้งที่เปิดให้ใช้บริการแล้ว และยังไม่ได้เปิดให้ใช้บริการแต่มีแผนจะสร้าง จะมีสายไหนบ้าง และข้อมูลอัพเดทเป็นอย่างไร ไปดูกันเลย…
รถไฟฟ้าสายสีเขียว (สุขุมวิท)
ถือเป็นรถไฟฟ้าสายหลักที่วิ่งตัดใจกลางเมือง ผ่านถนนสุขุมวิท พหลโยธิน เพลินจิต และคลอบคลุมถึง 3 จังหวัดด้วยกัน ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ และปทุมธานี เลยทีเดียว ปัจจุบันเปิดให้ใช้บริการแล้วทั้งหมด 48 สถานี รวมเป็นระยะทางประมาณ 52.65 กิโลเมตร โดยจะแบ่งระยะตามการก่อสร้างได้ทั้งหมด 4 ช่วงด้วยกัน ได้แก่
- หมอชิต-อ่อนนุช ระยะทาง 17 กิโลเมตร
- อ่อนนุช-แบริ่ง ระยะทาง 5.25 กิโลเมตร
- แบริ่ง-เคหะ ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร
- หมอชิต-คูคต ระยะทาง 17.8 กิโลเมตร
ในอนาคตยังมีแผนจะขยายอีก 2 ช่วงด้วยกัน คือช่วงเคหะฯ-ตำหรุ (ฝั่งสมุทรปราการ) 5 สถานี และช่วงคูคต-วงแหวนลำลูกกา (ฝั่งปทุมธานี) อีก 4 สถานี จะรวมเป็นทั้งหมด 57 สถานี และมีจุด Interchange ทั้งหมด 14 สถานีด้วยกัน (*หากรถไฟฟ้าทุกสายทำการสร้างเสร็จ) ได้แก่
- สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ เชื่อมต่อกับสายสีชมพู
- สถานี ม.เกษตรศาสตร์ เชื่อมต่อกับสายสีน้ำตาล
- สถานีพหลโยธิน 24 เชื่อมต่อกับสายสีเหลือง
- สถานีห้าแยกลาดพร้าว เชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน
- สถานีหมอชิต เชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน
- สถานีพญาไท เชื่อมต่อกับสายสีแดงอ่อน และสายท่าอากาศยาน
- สถานีราชเทวี เชื่อมต่อกับสายสีส้ม
- สถานีสยาม เชื่อมต่อกับสายสีเขียว (สายสีลม)
- สถานีอโศก เชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน
- สถานีทองหล่อ เชื่อมต่อกับสายสีเทา
- สถานีพระโขนง เชื่อมต่อกับสายสีเทา
- สถานีบางนา เชื่อมต่อกับสายสีเทา
- สถานีแบริ่ง เชื่อมต่อกับสายสีเทา
- สถานีสำโรง เชื่อมต่อกับสายสีเหลือง
**ชื่อสถานีอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
รถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสีลม)
เป็นสายที่ที่ผ่านย่านสำคัญ ๆ ของกรุงเทพฯ อย่าง สีลม-สาทร และเชื่อมต่อกับสายสีเขียว (สายสุขุมวิท) ที่สถานีสยาม ปัจจุบันเปิดให้ใช้บริการแล้ว 14 สถานี (สถานีสนามกีฬา-บางหว้า) รวมเป็นระยะทางทั้งหมด 14 กิโลเมตร โดยแบ่งได้ 2 ระยะตามการก่อสร้าง ได้แก่
- สนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ระยะทาง 5 กิโลเมตร
- สะพานตากสิน-บางหว้า ระยะทาง 5 กิโลเมตร
ในอนาคตมีแผนจะขยายอีก 2 ช่วงด้วยกัน ได้แก่ ฝั่งสนามกีฬาอีก 1 สถานี และฝั่งบางหว้าอีก 6 สถานี รวมเป็นตั้งหมด 21 สถานี และมีจุด Interchange ทั้งหมด 9 สถานีด้วยกัน (*หากรถไฟฟ้าทุกสายทำการสร้างเสร็จ) ได้แก่
- สถานีตลิ่งชัน (ส่วนต่อขยายในอนาคต) เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน
- สถานีบางหว้า เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
- สถานีวุฒกาศ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม
- สถานีตลาดพลู เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา
- สถานีกรุงธนบุรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีทอง
- สถานีช่องนนทรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา
- สถานีศาลาแดง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
- สถานีสยาม เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสุขุมวิท)
- สถานียศเส (ส่วนต่อขยายในอนาคต) เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม
**ชื่อสถานีอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล)
เป็นรถไฟฟ้าที่มีรูปแบบการให้บริการเป็นวงกลม ปัจจุบันเปิดให้ใช้บริการแล้วทั้งหมด 38 สถานี (สถานีท่าพระ-หลักสอง) รวมเป็นระยะทางทั้งหมด 48 กิโลเมตร โดยแบ่งได้ทั้งหมด 3 ระยะตามการใช้งาน ได้แก่
- ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ระยะทาง 20 กิโลเมตร
- ช่วงหัวลำโพง-หลักสอง และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ รวมระยะทาง 28 กิโลเมตร
ในอนาคตมีแผนจะขยายไปถึงพุทธมณฑล สาย 4 อีก 4 สถานีด้วยกัน รวมเป็นทั้งหมด 42 สถานี และมีจุด Interchange ทั้งหมด 16 สถานีด้วยกัน (*หากรถไฟฟ้าทุกสายทำการสร้างเสร็จ) ได้แก่
- สถานีบางขุนนนท์ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนและสายสีส้ม
- สถานีเตาปูน เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน สีแดงเข้ม และสายท่าอากาศยาน
- สถานีสวนจตุจักร เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสุขุมวิท)
- สถานีพหลโยธิน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสุขุมวิท)
- สถานีลาดพร้าว เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
- สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม
- สถานีเพชรบุรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน และสายท่าอากาศยาน
- สถานีสุขุมวิท เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสุขุมวิท)
- สถานีศูนย์ฯสิริกิติ์ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา
- สถานีคลองเตย เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา
- สถานีลุมพินี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา
- สถานีศาลาแดง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสีลม)
- สถานีหัวลำโพง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม
- สถานีสามยอด เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง
- สถานีท่าพระ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา
- สถานีบางหว้า เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสีลม)
**ชื่อสถานีอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
รถไฟฟ้าสายสีม่วง (สายฉลองรัชธรรม)
เป็นสายที่เชื่อมไปยังฝั่งนนทบุรี ปัจจุบันเปิดให้ใช้บริการแล้ว 16 สถานี (สถานีคลองบางไผ่-เตาปูน) รวมเป็นระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร และในอนาคตจะขยายเพิ่มอีกไปยังฝั่งพระปะแดง อีก 17 สถานีด้วยกัน จะรวมเป็นสายสีม่วงทั้งหมด 40 สถานี และมีจุด Interchange ทั้งหมด 6 สถานีด้วยกัน (*หากรถไฟฟ้าทุกสายทำการสร้างเสร็จ) ได้แก่
- สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลและสายสีชมพู
- สถานีบางซ่อน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม
- สถานีเตาปูน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
- สถานีผ่านฟ้า เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม
- สถานีสามยอด เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
- สถานีวงเวียนใหญ่ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม
**ชื่อสถานีอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
รถไฟฟ้าสายสีทอง (กรุงธนบุรี-ประชาธิปก)
เป็นรถไฟฟ้ารูปแบบโมโนเรลมีเส้นทางระยะสั้นเพียง 2.8 กิโลเมตร ที่พัฒนาโครงการโดยกทม. และกลุ่มไอคอน สยาม มีการแบ่งเป็น 2 ระยะตามการก่อสร้าง ได้แก่
- ช่วงกรุงธนบุรี-คลองสาน ระยะทาง 8 กิโลเมตร (เปิดให้ใช้บริการแล้ว)
- ช่วงคลองสาน-ประชาธิปก ระยะทาง 1 กิโลเมตร (ยังไม่เปิดให้บริการ)
มีจุด Interchange ทั้งหมด 3 สถานีด้วยกัน (*หากรถไฟฟ้าทุกสายทำการสร้างเสร็จ) ได้แก่
- สถานีกรุงธนบุรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสีลม)
- สถานีคลองสาน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม
- สถานีประชาธิปก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง
**ชื่อสถานีอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)
ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง 23 สถานี และสถานีเพิ่มเติมอีก 2 สถานี รวมเป็นสายสีเหลืองทั้งหมด 25 สถานี รวมเป็นระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร และมีจุด Interchange ทั้งหมด 7 สถานีด้วยกัน (*หากรถไฟฟ้าทุกสายทำการสร้างเสร็จ) ได้แก่
- สถานีสำโรง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว
- สถานีศรีเอี่ยม เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา
- สถานีหัวหมาก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายแดงอ่อนและสายท่าอกาศยาน
- สถานีแยกลำสาลี เชื่อมต่อกับกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลและสายสีส้ม
- สถานีลาดพร้าว เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา
- สถานีลาดพร้าว เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
- สถานีพหลโยธิน 24 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสุขุมวิท)
**ชื่อสถานีอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
รถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-มีนบุรี)
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มจะมีแนวเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกและตะวันตก ทั้งหมด 29 สถานี เป็นระยะทางประมาณ 35.9 กิโลเมตร ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่
- ช่วงกรุงเทพฯ ตะวันออก (สถานีศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ระยะทาง 5 กิโลเมตร
- ช่วงกรุงเทพฯ ตะวันตก (สถานีบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 4 กิโลเมตร
ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้างในระยะแรก (สถานีศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ทั้งหมด 17 สถานี แบ่งเป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี และมีจุด Interchange ทั้งหมด 10 สถานีด้วยกัน (*หากรถไฟฟ้าทุกสายทำการสร้างเสร็จ) ได้แก่
- สถานีบางขุนนนท์ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีแดงอ่อน
- สถานีศิริราช เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน
- สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง
- สถานียมราช เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม
- สถานีราชเทวี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสุขุมวิท)
- สถานีราชปรารถ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายท่าอากาศยาน
- สถานีศูนย์วัฒนธรรม เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
- สถานีวัดพระราม9 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา
- สถานีแยกลำสาลี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีน้ำตาล
- สถานีมีนบุรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู
**ชื่อสถานีอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี)
เป็นรถไฟฟ้ารูปแบบโมโนเรล รางเดี่ยว ทั้งหมด 32 สถานี รวมเป็นระยะทางประมาณ 36 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง และมีจุด Interchange ทั้งหมด 5 สถานีด้วยกัน (*หากรถไฟฟ้าทุกสายทำการสร้างเสร็จ) ได้แก่
- สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำตาล
- สถานีหลักสี่ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม
- สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสุขุมวิท)
- สถานีวัชรพล เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา
- สถานีมีนบุรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม
**ชื่อสถานีอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-ลำสาลี)
เป็นรถไฟฟ้าที่มีแนวเส้นทางซ้อนทับกับเส้นทางด่วน มีสถานีทั้งหมด 20 สถานี รวมเป็นเส้นทางประมาณ 22.1 กิโลเมตร ปัจจุบันยังอยู่ในแผนและยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง มีจุด Interchange ทั้งหมด 5 สถานีด้วยกัน (*หากรถไฟฟ้าทุกสายทำการสร้างเสร็จ) ได้แก่
- สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมูและสายสีม่วง
- สถานีบางเขน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน
- สถานีแยกเกษตร เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสุขุมวิท)
- สถานีต่างระดับฉลองรัช เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา
- สถานีแยกลำสาลี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีเหลือง
**ชื่อสถานีอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
รถไฟฟ้าสายสีเทา
เป็นรถไฟฟ้าที่มีรูปแบบโมโนเรล ที่จะมาช่วยลดปัญหารถติดในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในและชั้นนอก ทั้งหมด 39 สถานี เป็นระยะทางประมาณ 39.91 กิโลเมตร โดยจะแบ่งเป็นทั้งหมด 3 ระยะด้วยกัน ได้แก่
- ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ระยะทาง 25 กิโลเมตร
- ช่วงพระโขนง-พระราม 3 ระยะทาง 17 กิโลเมตร
- ช่วงพระราม 3-ท่าพระ ระยะทาง49 กิโลเมตร (เส้นทางซ้อนทับกับระบบขนส่ง BRT)
ปัจจุบันยังไม่ได้เริ่มการก่อสร้าง และมีจุด Interchange ทั้งหมด 12 สถานีด้วยกัน (*หากรถไฟฟ้าทุกสายทำการสร้างเสร็จ) ได้แก่
- สถานีวัชรพล เชื่อมต่อกับรภไฟฟ้าสายสีชมพู
- สถานีต่างระดับฉลองรัช เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
- สถานีฉลองรัช เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
- สถานีวัดพระราม 9 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม
- สถานีทองหล่อ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสุขุมวิท)
- สถานีพระโขนง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสุขุมวิท)
- สถานีพระราม 4 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
- สถานีคลองเตย เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
- สถานีลุมพินี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
- สถานีช่องนนทรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสีลม)
- สถานีตลาดพลู เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสีลม)
- สถานีท่าพระ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
**ชื่อสถานีอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (ธรรมศาสตร์-มหาชัย)
เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองที่เชื่อมต่อกรุงเทพฯ โซนเหนือและโซนใต้ รวมระยะทางทั้งหมด 114.3 กิโลเมตร มีทั้งหมด 36 สถานี ปัจจุบันเปิดให้ใช้บริการแล้วช่วงบางซื่อ-รังสิต โดยตลอดเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงจะมีจุด Interchange ทั้งหมด 11 สถานีด้วยกัน (*หากรถไฟฟ้าทุกสายทำการสร้างเสร็จ) ได้แก่
- สถานีดอนเมือง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายท่าอากาศยาน
- สถานีหลักสี่ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู
- สถานีบางเขน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
- สถานีบางซื่อ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีแดงอ่อน และสายท่าอากาศยาน
- สถานีราชวิถี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน
- สถานียมราช เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม
- สถานียศเส เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสีลม)
- สถานีหัวลำโพง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
- สถานีคลองสาน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีทอง
- สถานีวงเวียนใหญ่ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง
- สถานีวุฒากาศ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสีลม)
**ชื่อสถานีอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน (ศลายา-ตลิ่งชัน-บางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก)
รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนหรือรถไฟชานเมืองสายตะวันออก-ตะวันตก และเป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าชานเมืองสีแดง มีระยะทางประมาณ 127.5 กิโลเมตร ปัจจุบันเปิดให้ใช้บริการแล้วช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยตลอดเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงจะมีจุด Interchange ทั้งหมด 12 สถานีด้วยกัน (*หากรถไฟฟ้าทุกสายทำการสร้างเสร็จ) ได้แก่
- สถานีตลิ่งชัน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสุขุมวิท)
- สถานีบางขุนนนท์ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีส้ม
- สถานีศิริราช เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม
- สถานีบางซ่อน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง
- สถานีบางซื่อ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีแดงเข้ม และสายท่าอากาศยาน
- สถานีราชวิถี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม
- สถานีพญาไท เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสุขุมวิท) และสายท่าอากาศยาน
- สถานีมักกะสัน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายท่าอากาศยาน
- สถานีรามคำแหง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายท่าอากาศยาน
- สถานีหัวหมาก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายท่าอากาศยาน
- สถานีบ้านทับช้าง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายท่าอากาศยาน
- สถานีลาดกระบังเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายท่าอากาศยาน
**ชื่อสถานีอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
รถไฟฟ้าสายท่าอากาศยาน (แอร์พอร์ต เรล ลิงก์)
เป็นรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับสนามบินสุวรรณภูมิ ปัจจุบันเปิดให้ใช้บริการแล้ว 8 สถานีด้วยกันช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ เป็นระยะทางประมาณ 28.5 กิโลเมตร และในอนาคตจะขยายเพิ่มอีก 2 สถานี เพื่อเชื่อมต่อไปยังสถานีกลางบางซื่อ และสนามบินดอนเมือง (พญาไท-ดอนเมือง) รวมทั้งหมด 10 สถานี และจะมีจุด Interchange ทั้งหมด 9 สถานีด้วยกัน (*หากรถไฟฟ้าทุกสายทำการสร้างเสร็จ) ได้แก่
- สถานีลาดกระบัง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน
- สถานีบ้านทับช้าง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน
- สถานีหัวหมาก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนและสายสีเหลือง
- สถานีรามคำแหง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน
- สถานีมักกะสัน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน และสายสีน้ำเงิน
- สถานีราชปรารถ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน
- สถานีพญาไท เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสุขุมวิท) และสายสีแดงอ่อน
- สถานีบางซื่อ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีแดงอ่อน และสายสีแดงเข้ม
- สถานีดอนเมือง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม
**ชื่อสถานีอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
รถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail บางนา-สุวรรณภูมิ)
รถไฟฟ้าสายสีเงิน หรือรถไฟฟ้ารางเบา เชื่อมต่อระหว่างบางนาและสุวรรณภูมิใต้ ทั้งหมด 14 สถานี รวมเป็นระยะทางประมาณ 18.3 กิโลเมตร ปัจจุบันยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง และหากสร้างเสร็จแล้วจะมีจุด Interchange ทั้งหมด 2 สถานีด้วยกัน (*หากรถไฟฟ้าทุกสายทำการสร้างเสร็จ) ได้แก่
- สถานีบางนา เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สายสุขุมวิท)
- สถานีศรีเอี่ยม เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
**ชื่อสถานีอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
เรียบเรียงโดย Homezoomer
เว็บไซต์ ประกาศ ซื้อ ขาย บ้าน มือ1 มือ2 : Hubzoomer.com
ติดตามข่าวสาร รีวิวบ้านและคอนโด สาระน่ารู้ : Homezoomer