การมีบ้านกับภาษีที่ต้องจ่าย
การมีบ้านกับภาษีที่ต้องจ่าย
พรบ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีผลใช้บังคับในปี 2560 หลายคนที่เป็นเจ้าของคอนโดมิเนียมหลายห้อง เริ่มเกิดข้อสงสัยว่าจะโดนหางเลขต้องเสียภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างตัวนี้ด้วยหรือเปล่า แล้วถ้าต้องเสีย จะต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ โดยหลักการแล้วสำหรับคนที่มีบ้าน หรือคอนโดมิเนียมหลักเพียง “หลังเดียว” สำหรับใช้พักอาศัย และราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท กฎหมายตัวนี้ไม่มีผลอะไรเลย แต่สำหรับใครที่มีบ้านหลักที่ใช้พักอาศัยแล้ว (ไม่ว่าจะราคาเท่าไหร่ก็ตาม) แต่ยังมีคอนโดมิเนียม ตึกแถว หรือที่ดินเปล่าอีก กรณีแบบนี้จะต้องเสียภาษีตัวนี้
บ้านพักอาศัยหลังหลัก (ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม ทาวน์โฮม และทาวน์เฮาส์) จะต้องเสียภาษีก็ต่อเมื่อมูลค่าบ้านนั้นเกินกว่า 50 ล้านบาท ถ้าต่ำกว่าหรือเท่ากับ 50 ล้านบาท จะไม่ต้องเสียภาษี
การเสียภาษี นโยบายนี้เกิดขึ้นเพื่อนำรายได้ไปพัฒนาประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิต ประชาชนให้ดีขึ้น โดยคนที่เข้าข่ายจะต้องเสียภาษีโดยทั่วไปจะเป็นคนที่มีรายได้ตามที่กฎหมายในแต่ละประเทศกำหนด ประเทศไทยเองก็เช่นเดียวกันมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องภาษีด้วยเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นสำหรับทุกคนที่มีหน้าที่เสียภาษีควรที่จะต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย และบทความนี้เราจะมาพูดถึงการเสียภาษี ณ ที่จ่ายกัน
ใครบ้างต้องเสียภาษี?
บุคคลธรรมดา คือ บุคคลใดก็ได้ที่มีเงินได้ทั่วๆ ไปทั้งปี มากกว่า 30,000 บาท (กรณีโสด) และ มากกว่า 60,000 บาท (กรณีสมรส) ต้องยื่นแบบ ภงด. ส่วนกรณีที่มีรายได้จากเงินเดือน (เฉพาะเงินได้ตาม ม.40(1)) ตั้งแต่ 4,167 บาทต่อเดือนขึ้นไป หรือ ตั้งแต่ 50,000 บาทต่อปี (กรณีโสด) และ ตั้งแต่ 8,334 บาทต่อเดือนขึ้นไป หรือ ตั้งแต่ 100,000 บาท (กรณีสมรส) ถือว่ามีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภงด. ถึงแม้จะไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ตาม
ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี กล่าวคือ กรณีที่ผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตายในปีภาษีนั้น ทายาทหรือ ผู้จัดการมรดก มีหน้าที่ยื่นแบบ ภงด. ตามเงินได้ทั้งปีภาษี ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. มีบ้านให้เช่า (มีรายได้จากค่าเช่า) โดยเซ็นสัญญาเช่าไว้ทั้งปี 2554 ต่อมาในเดือน พ.ค. 54 นาย ก. ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ในช่วงเดือน ม.ค. – มี.ค. 55 ทายาทหรือผู้จัดการมรดกของนาย ก. จะมีหน้าที่ยื่นแบบ ภงด. โดยประเมินเงินได้ทั้งปีภาษี 2554 (ม.ค.-ธ.ค. 54)
กองมรดก กล่าวคือ เป็นกรณีที่ผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตายในปีภาษีก่อนหน้า และยังไม่ได้จัดการมรดก ดังนั้น ในปีภาษีนี้จะต้องยื่นแบบในนาม กองมรดกของ นาย ก. และนำเงินได้ทั้งปี โดยทายาทหรือผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ยื่นแบบภาษีจากเงินได้ทั้งปี ทั้งนี้ เกณฑ์ในการยื่นแบบ ภงด. กองมรดกนั้น มีเงินได้ทั้งปี ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป
คณะบุคคล / ห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่มิใช่นิติบุคคล คณะบุคคล ถือเป็นอีก 1 หน่วยภาษี กล่าวคือ ไม่ถือเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฯ หากถือเป็นบุคคลในทางภาษี (โดยไม่จำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์แบ่งเป็นผลกำไรที่พึงได้จากกิจการที่กระทำร่วมกัน) ซึ่งมักจะเป็นช่องทางในการวางแผนภาษี คณะบุคคลจะคำนวณภาษีเงินได้เหมือนกับบุคคลธรรมดา และ สามารถหักค่าลดหย่อนได้ 60,000 บาทต่อคณะบุคคล (คล้ายๆ กับค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000 บาท กรณีบุคคลธรรมดา)
สำหรับการเสียภาษีบุคคลธรรมดา หลายคนอาจจะเคยมีข้อสงสัยเกิดขึ้นว่า “รายได้บางรายการที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องนำมาเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้ตอนปลายปีหรือไม่?” บทความนี้จะคลายความสงสัยดังกล่าว
การหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ได้แปลว่าเสียภาษีเรียบร้อยแล้ว แต่ “ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ การจ่ายภาษีล่วงหน้า” เรายังคงมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหมือนเดิม โดยนำภาษีที่ถูกหักไว้ระหว่างปี มา “หัก” หรือ “เครดิต” จากภาษีที่เราคำนวณได้ตอนปลายปี ส่วนต่างที่เหลือคือภาษีที่ต้องชำระเพิ่มหรือภาษีส่วนเกินที่ต้องขอคืน(อย่าลืมเก็บเอกสารหลักฐานการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายไว้ด้วย)
ส่วนใครที่ยังกังวลอยู่ลองคำนวณในระบบยื่นภาษีในอินเทอร์เน็ตดูเพื่อความสบายใจ กรอกรายการเปรียบเทียบต่างๆลงในระบบ สุดท้ายก่อนที่จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีก็อย่าลืมตรวจสอบข้อมูลให้ครบถ้วนเตรียมเอกสารให้พร้อมและเราขออวยพรให้ทุกท่านได้คืนภาษีกันเร็วๆด้วยน้า
เรียบเรียงโดย
Homezoomer
รูปภาพ
อ้างอิง
http://www.rd.go.th/publish/27860.0.html
https://www.checkraka.com/knowledge/
เว็บไซต์ ประกาศ ซื้อ ขาย บ้าน มือ1 มือ2 : Hubzoomer.com
ติดตามข่าวสาร รีวิวบ้านและคอนโด สาระน่ารู้ : Homezoomer