รถไฟฟ้าสายสีส้ม

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

สายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน – มีนบุรี

รถไฟฟ้าสายสีส้มสร้างเมื่อปี 2557  แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ 1. ช่วงตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างปี 2560 ถือเป็นเส้นทางใหม่ทางฝั่งตะวันออกที่น่าสนใจเพราะปัจจุบัน ตามแนวรถไฟฟ้าสายนี้ได้มีการลงไปปักหมุดโครงการที่อยู่อาศัย ห้างสรรพสินค้า คอมมิวนิตี้มอลล์  2. ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี ทั้งหมดมี 30 สถานี โดยแบ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน 23 สถานี (ตลิ่งชัน-คลองบ้านม้า) และรถไฟฟ้ายกระดับ 7 สถานี (สัมมากร-สุวินทวงศ์) พร้อมจุดเชื่อมต่อ Interchange  8 จุด รวมระยะทางทั้งหมด 39.6 กม. ส่วนระบบเป็นรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail Transit System) ที่มีความจุสูง และมีความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเมื่อเปิดดำเนินการจะใช้รถทั้งหมด 16 ขบวน ( 3 ตู้ต่อขบวน) สามารถขนส่งผู้โดยสารประมาณ 50,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง

โดยโครงการเริ่มต้นจากสถานีรถไฟตลิ่งชัน จากนั้นใช้แนวเขตรถไฟสายบางกอกน้อย ผ่านโรงพยาบาลศิริราช ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ผ่านใต้ถนนราชดำเนินแล้วเบี่ยง ใช้แนวถนนหลานหลวง ผ่านยมราชแล้วเข้าสู่แนวถนนเพชรบุรี เลี้ยวเข้าถนนราชปรารภถึงดินแดงแล้วเลี้ยว ไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) ตัดตรงไปเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย แล้วเบี้ยงเข้าแนวถนนพระรามเก้า ตัดผ่านถนนประดิษฐ์ธรรมนูญ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนรามคำแหง ผ่านแยกลำสาลี แยกถนนกาญจนาภิเษก ไปสิ้นสุดที่สถานีสุวินทวงศ์บริเวณมีนบุรี

ลักษณะโครงการ

หนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้า ในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นระบบที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดินและยกระดับ แนวเส้นรองรับเดินาทางในเขตเมือง ตามแนวตะวันออก-ตะวันตก  เริ่มต้นจากสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน ชานเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี เข้าสู่ย่านบางกอกน้อย ผ่านโรงพยาบาลศิริราช แล้วลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า เข้าสู่ย่านเมืองเก่าในเขตพระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย และดุสิต ผ่านสถานที่สำคัญเช่น สนามหลวง ถนนราชดำเนิน ภูเขาทอง ตลาดมหานาค เข้าสู่ใจกลางเมืองย่านราชเทวี ประตูน้ำ ดินแดง ไปยังชุมชนประชาสงเคราะห์ ถนนวัฒนธรรม ออกสู่ถนนรามคำแหง บางกะปิ สะพานสูง มาสิ้นสุดเส้นทางที่เขตมีนบุรี ชานเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ  โครงสร้างรถไฟฟ้าแบบยกระดับระยะทาง 9 กิโลเมตร สถานียกระดับ 7 สถานี และโครงสร้างรถไฟฟ้าแบบใต้ดินระยะทาง 30.6 กิโลเมตร สถานีใต้ดิน 23 สถานี

รูปแบบโครงการ

เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก  (heavy rail transit) วิ่งใต้ดินทั้งหมดเป็นอุโมงค์คู่ ยกเว้นบริเวณที่มีพื้นที่จำกัดหนาแน่นจะเป็นอุโมงค์เดี่ยว ขนาดราง 1.435เมตร (standard guage) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ

จุดจอดแล้วจร (park and ride)

ที่สถานีต้นทาง (บางกะปิ) สถานีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (ศูนย์วัฒนธรรมฯ) และสถานีปลายทาง (บางขุนนนท์)

รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกโดยจะผ่านสถานีดังต่อไปนี้

1.สถานีรถไฟฟ้าตลิ่งชัน อยู่ในเขตตลิ่งชัน ตั้งอยู่ใต้สถานีรถไฟตลิ่งชัน เชื่อมต่อกับ : โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง (สถานีตลิ่งชัน)

2.สถานีรถไฟฟ้าบางขุนนนท์ อยู่ในเขตบางกอกน้อย อยู่ใต้ถนนเลียบทางรถไฟ บริเวณตัดกับถนนจรัญสนิทวงศ์ เชื่อมต่อกับ : โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ (สถานีบางขุนนนท์)

3.สถานีรถไฟฟ้าศิริราช อยู่ในเขตบางกอกน้อย อยู่ใต้สะพานอรุณอัมรินทร์ บริเวณใกล้โรงพยาบาลศิริราช

4.สถานีรถไฟฟ้าสนามหลวง อยู่ในเขตพระนคร อยู่ใต้ถนนราชินี บริเวณด้านหน้าโรงละครแห่งชาติ

5.สถานีรถไฟฟ้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อยู่ในเขตพระนคร อยู่ใต้ถนนราชดำเนินกลาง บริเวณด้านตะวันออกของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ด้านหน้าลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ เชื่อมต่อกับ : โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ – ราษฎร์บูรณะ (สถานีผ่านฟ้า)

6.สถานีรถไฟฟ้าหลานหลวง อยู่ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย อยู่ใต้ถนนหลานหลวง บริเวณแยกหลานหลวง ถึงสามแยกถนนพะเนียง

7.สถานีรถไฟฟ้ายมราช อยู่ในเขตดุสิต อยู่ใต้ถนนหลานหลวง บริเวณด้านหน้าบ้านมนังคศิลา เชื่อมต่อกับ : รถไฟชานเมืองสายสีแดง

8.สถานีรถไฟฟ้าราชเทวี อยู่ในเขตราชเทวี อยู่ถนนเพชรบุรี บริเวณซอยเพชรบุรี 3 – 7 ก่อนขึ้นสะพานข้ามแยกราชเทวี เชื่อมต่อกับ : รถไฟฟ้า BTS (สถานีราชเทวี)

9.สถานีรถไฟฟ้าประตูน้ำ อยู่ในเขตราชเทวี อยู่ใต้ถนนเพชรบุรี บริเวณหน้าห้างพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า

10.สถานีรถไฟฟ้าราชปรารภ อยู่ในเขตราชเทวี อยู่ใต้ถนนราชปรารภบริเวณด้านหน้าห้างอินทรา สแควร์ เชื่อมต่อกับ : โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ (สถานีราชปรารภ)

11.สถานีรถไฟฟ้ารางน้ำ อยู่ในเขตราชเทวี อยู่ใต้ถนนราชปรารภ บริเวณด้านหน้าปากซอยรางน้ำตัดกับถนนราชปรารภ

12.สถานีรถไฟฟ้าดินแดง อยู่ในเขตราชเทวี ใต้ถนนวิภาวดีรังสิตฝั่งขาเข้า บริเวณด้านหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร2 (ดินแดง)

13.สถานีรถไฟฟ้าประชาสงเคราะห์ อยู่ในเขตดินแดง ใต้พื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาดรุณพิทยาหรือโรงเรียนดรุณพิทยา (ปัจจุบันปิดดำเนินการแล้ว)

 

ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

จากสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ระยะทาง 22.57 กิโลเมตร 17 สถานี และสถานียกระดับอีก 10 สถานี ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กับบริษัทผู้รับว่าจ้างที่ผ่านการคัดเลือกด้านราคา 6 สัญญา  การเดินทางจากสถานีวัฒนธรรมจะเบี่ยงเข้าถนนพระราม 9 เพื่อไปสู่เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกต่อไป โดยจะตัดผ่านถนนประดิษฐ์มนูธรรม จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนรามคำแหง ผ่านแยกลำสำลี แยกถนนกาญจนาภิเษก และไปสิ้นสุดที่สถานีสุวินทวงศ์บริเวณมีนบุรี

แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 6 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1 และสัญญาที่ 2 บริษัท ช.การช่าง จำกัด ก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-รามคำแหง 12-หัวหมาก สัญญาที่ 3 บริษัท อิตาเลียนไทย จำกัด ก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงหัวหมาก-บ้านม้า สัญญาที่ 4 บริษัท ยูนิคฯ ก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับ ช่วงบ้านม้า-สุวินทวงศ์ สัญญาที่ 5 บริษัท ช.การช่าง จำกัด ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงบริเวณสำนักงาน รฟม. ถนนพระราม 9 และอาคารจอดแล้วจร 1แห่งที่บริเวณสถานีบ้านม้า จอดรถได้ประมาณ 1,200 คัน และสัญญาที่ 6 บริษัท ยูนิคฯ ติดตั้งระบบราง ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-สุวินทวงศ์ โดยกำหนดเริ่มก่อสร้างงานโยธาในเดือนมิถุนายน 2560 และกำหนดแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2566 ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการ เดินรถในต้นปี 2566

สถานีใต้ดิน 10 แห่ง ได้แก่

1.สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ตั้งอยู่ใกล้ถนนรัชดาภิเษก บริเวณด้านหน้าห้างเอสพลานาด รัชดาฯ ซึ่งจะเป็นสถานีที่เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย)

2.สถานีรถไฟฟ้า รฟม. อยู่ในเขตห้วยขวาง บริเวณประตูถนนพระราม 9

3.สถานีรถไฟฟ้าประดิษฐ์มนูธรรม อยู่ในเขตห้วยขวาง อยู่ใต้ถนนพระราม 9 บริเวณใกล้สี่แยกพระราม 9 – ประดิษฐ์มนูธรรม หน้าปากซอยเข้าวัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก

4.สถานีรถไฟฟ้ารามคำแหง 12 อยู่ในเขตบางกะปิ ใต้ถนนรามคำแหง บริเวณด้านหน้าห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขารามคำแหง

5.สถานีรถไฟฟ้ารามคำแหง อยู่ในเขตบางกะปิ ใต้ถนนรามคำแหงบริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง

6.สถานีรถไฟฟ้าราชมังคลา อยู่ในเขตบางกะปิ ใต้ถนนรามคำแหงบริเวณด้านหน้าสนามกีฬาหัวหมาก

7.สถานีรถไฟฟ้าหัวหมาก อยู่ในเขตบางกะปิ ใต้ถนนรามคำแหง บริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลรามคำแหง

8.สถานีรถไฟฟ้าลำสาลี อยู่ในเขตบางกะปิ ใต้ถนนรามคำแหง บริเวณด้านใต้แยกลำสาลี เชื่อมต่อกับ : โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพ ร้าว – สำโรง (สถานีลำสาลี)

9.สถานีรถไฟฟ้าศรีบูรพา อยู่ในเขตบางกะปิ ใต้ถนนรามคำแหง บริเวณสามแยกถนนรามคำแหงตัดถนนศรีบูรพาหรือด้านหน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า สุขาภิบาล 3

10.สถานีรถไฟฟ้าคลองบ้านม้า อยู่ในเขตสะพานสูง อยู่ใต้ถนนรามคำแหง บริเวณระหว่างซอยรามคำแหง 92-94 เชื่อมต่อกับ : อาคารจอดแล้วจร (Park and Ride) ฝั่งขาเข้าติดกับสถานี จอดรถยนต์ได้ประมาณ 1,200 คัน

สถานียกระดับ 7 แห่ง ได้แก่

  1. สถานีรถไฟฟ้าสัมมากร อยู่ในเขตสะพานสูง อยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณใกล้หมู่บ้านสัมมากร
  2. สถานีรถไฟฟ้าน้อมเกล้า อยู่ในเขตสะพานสูง อยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณห้านหน้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
  3. สถานีรถไฟฟ้าราษฎร์พัฒนา อยู่ในเขตสะพานสูง อยู่บนแถนนรามคำแหง บริเวณสามแยกถนนรามคำแหง – ราษฎร์พัฒนา ด้านหน้าสำนักงานใหญ่บริษัทมิสทีน
  4. สถานีรถไฟฟ้ามีนพัฒนา อยู่ในเขตมีนบุรี อยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณด้านหน้าทางเข้าวัดบางเพ็ญใต้ ตรงข้ามนิคมอุตสาหกรรมบางชัน
  5. สถานีรถไฟฟ้าเคหะรามคำแหง อยู่ในเขตมีนบุรี อยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณด้านหน้าปากซอยรามคำแหง 184 ใกล้เคหะรามคำแหง
  6. สถานีรถไฟฟ้ามีนบุรี อยู่ในเขตมีนบุรี อยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณสะพานข้ามคลองสองต้นนุ่น เชื่อมต่อกับ : โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี (สถานีมีนบุรี) โดยมีอาคารจอดแล้วจร (Park & Ride) เป็นอาคาร 10 ชั้น จอดรถยนต์ได้ประมาณ 3,000 คัน
  7. สถานีรถไฟฟ้าสุวินทวงศ์ อยู่ในเขตมีนบุรี อยู่ริมถนนรามคำแหงด้านทิศใต้ บริเวณใกล้ทางแยกสุวินทวงศ์

 

ทำเลทองรถไฟฟ้าสายสีส้ม

1.สถานีประตูน้ำ

แหล่งชุมชนเมืองหนาแน่นมาก มีสถานที่อำนวยความสะดวกมากมาย โดยเฉพาะห้างพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ห้างดังแฟชชั่นนักช้อป

2.สถานีศิริราช

ตั้งอยู่บริเวณใต้สะพานอรุณอัมรินทร์ ใกล้โรงพยาบาลศิริราชโรงพยาบาลชื่อดัง อีกทั้งยังใกล้กับเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ปิ่นเกล้า อีกด้วย

3.สถานียมราช

จุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงพอดี โดยสถานีจะอยู่บริเวณใต้ถนนหลานหลวง บริเวณบ้านมนังคศิลา และอยู่ใกล้ Mall Park แหล่งช้อปสุดไฮเทค และอาคารสกล รวมถึงเป็นจุดที่มีรถเมล์หลายสายวิ่งผ่าน จะเดินทางไปไหน ก็สะดวก โครงการได้รับการอนุมัติในการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2563 ปัจจุบันถือเป็นย่านสำนักงาน อาทิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ,อาคารสำนักงานAIA แนวโน้มรัศมีโดยรอบเจริญเติบโตดีขึ้น อนิสงจากรถไฟฟ้า MRT สายเฉลิมรัชมงคล

CR.

baania | mrta | ddproperty | home| thairath | ananda