รถไฟฟ้าสายสีเขียว

รถไฟฟ้าสายสีเขียว (เหนือ) หมอชิต –สะพานใหม่-คูคต

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (เหนือ) หมอชิต –สะพานใหม่-คูคต

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (เหนือ) หมอชิต –สะพานใหม่-คูคตเริ่มก่อสร้างมิถุนายน 2558 โดยกลุ่มบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เป็นระยะทางกว่า 19 กิโลเมตร เส้นทางก่อสร้างระยะทาง 16 สถานี โดยเริ่มจาก BTS สถานีหมอชิต ไปตามพหลโยธิน สิ้นสุดบริเวณคลองสองที่สถานีคูคต จะเปิดให้บริการพ.ศ 2563 โดยรับรองผู้โดยสารได้มากกว่า 50,000คน/ชั่วโมง/ทิศทาง

ใช้ขบวนรถไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลต์ โดยรถไฟฟ้าจะเป็นแบบ 3 ถึง 6 ตู้ต่อหนึ่งขบวน ถือเป็นรถไฟฟ้าสายสำคัญที่เปลี่ยนโฉมหน้าทำเลแนว ถ.พหลโยธินให้มีศักยภาพมากขึ้นกว่าเดิม เป็นแหล่งทำเลทองยิ่งขึ้น เพราะสามารถเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ ตอนเหนือกับใจกลางเมือง และเชื่อมต่อ จ.ปทุมธานี ได้อย่างสะดวกสบาย  สามารถเดินทางโดยรถไฟเข้าสยาม อโศก แหล่งงาน ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ รวมถึงโรงพยาบาลและสถานศึกษาขั้นนำอย่างสบาย

แนวเส้นทางการเริ่มต้นทางเดินรถไฟฟสายสีเขียวส่วนต่อขยายนี้ จะข้ามทางยกระดับดอนเมือง โทลล์เวย์บริเวณห้าแยกลาดพร้าว แล้ววิ่งยาวตามแนวเกาะกลางถนนพหลโยธิน ผ่านแยกรัชโยธิน แยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปจนถึงบริเวณแยกหลักสี่ ก่อนจะเบี่ยงออกทางด้านขวาเลียบไปตามขอบอุโมงค์ลอกแยกหลักสี่และเบี่ยงกลับเข้าสู่เกาะกลางดังเดิม ไปจนถึงบริเวณสะพานใหม่หน้าตลาดยิ่งเจริญ วิ่งยาวต่อผ่านโรงพยาบาลภูมิพลฯ ผ่านพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ จนเมื่อถึงประมาณกิโลเมตรที่ 25 ของถนนพหลโยธิน แนวเส้นทางจะถูกเบี่ยงอีกครั้งไปทางด้านทิศตะวันออก ผ่านบริเวณด้านข้างของสถานีตำรวจภูธรคูคต ก่อนกลับเข้าสู่บริเวณเกาะกลางของถนนลำลูกกา และไปสิ้นสุดเส้นทางบริเวณคลองสอง ซึ่งจะเป็นที่ตั้งของสถานีคูคต

 

 สถานียกระดับ 16 สถานี

  1. สถานีห้าแยกลาดพร้าว ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน บริเวณด้านหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าวและจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล MRT (สถานีพหลโยธิน)
  2. สถานีพหลโยธิน 24 ตั้งอยู่บริเวณหน้าซอยพหลโยธิน 24
  3. สถานีรัชโยธิน ตั้งอยู่บริเวณแยกรัชโยธิน

ตั้งอยู่ใกล้แหล่งช็อปปิ้งที่มีร้านอาหารให้เลือกกิน เลือกช็อปมากมาย ในส่วนของร้านอาหารก็มีอย่างเช่น Oishi, Sizzler, MK, Yayoi, Black Canyon, Chester’s Grill, Starbucks, Swensen’s, เกี๋ยวเตี๋ยวเรือท่าสยาม, ฮะจิบัง ราเมน มีตลาดนัดขายของให้เลือกสรรมากมาย

  1. สถานีเสนานิคม ตั้งอยู่บริเวณซอยเสนานิคม

ยู่ใกล้กับซอยพหลโยธิน 34 ติดกับโรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล (โรงพยาบาลเมโยเดิม) ซึ่งทำให้ผู้อาศัยสะดวกสบายเรื่องการเดินทางมาหาหมอเมื่อเจ็บป่วย

  1. สถานีวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งอยู่บริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้าสัตวแพทยศาสตร์
  2. สถานีกรมป่าไม้ ตั้งอยู่บริเวณสำนักงานกรมป่าไม้
  3. สถานีบางบัว ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนบางบัว
  4. สถานีกรมทหารราบที่ 11 ตั้งอยู่บริเวณกรมทหารราบที่ 11

อยู่ตรงข้ามกับ บ้านต้นไม้ในพิพิธภัณฑ์ “บ้านบางเขน” รวบรวมอาหารและร้านค้า ยุค 90 ให้นักท่องเที่ยวเยี่ยมชม

  1. สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

ตั้งอยู่บริเวณอนุสาวรีย์หลักสี่ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีชมพู

  1. สถานีอนุสาวรีย์หลักสี่ ตั้งอยู่บริเวณซอยพหลโยธิน
  2. สถานีสายหยุด ตั้งอยู่บริเวณซอยสายหยุด
  3. สถานีสะพานใหม่ ตั้งอยู่บริเวณหน้าตลาดยิ่งเจริญ
  4. สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ตั้งอยู่บริเวณหน้าโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชและกรมแพทย์ทหารอากาศ
  5. สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
  6. สถานี กม. 25 ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 25 ของถนนพหลโยธิน
  7. สถานีคูคต ตั้งอยู่บริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธรคูคต

นอกจากอนาคตยังสามารถเชื่อต่อ รถไฟฟ้าถึง 2 สาย

– รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร จำนวน 30 สถานี ซึ่งจะเปิดให้บริการในปี 2564 เชื่อมโยงแหล่งพาณิชยกรรม ตามแนว ถ.ติวานนท์ แจ้งวัฒนะ และระหว่าง จ.นนทบุรี กับเขตมีนบุรี

– รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26.3 กิโลเมตร จำนวน 10 สถานี ซึ่งจะเปิดให้บริการในปี 2563 จะเป็นรถไฟฟ้าสายสำคัญที่เชื่อมต่อกับสนามบินดอนเมืองได้อย่างสะดวกสบาย และเชื่อมต่อกับสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งในอนาคตจะเป็นฮับทางด้านคมนาคมสำคัญของกรุงเทพฯ และในอนาคตรถไฟฟ้าสายสีแดงจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เชื่อมต่อ 2 สนามบิน คือ สนามบินดอนเมือง และสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะสนามบินดอนเมืองที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นสนามบินของสายการบินโลว์คอสต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากการสำรวจของ CAPA (บริษัทที่ปรึกษาด้านข้อมูลการบินระดับโลก)

 อาคารที่จอดแล้วจร (Park and Ride)  2แห่ง

1.บริเวณถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 25 สามารถจอดรถได้ประมาณ 1,042 คัน

2.บริเวณใกล้กับสถานีตำรวจภูธรคูคต สามารถจอดรถได้ประมาณ 713 คัน

ใช้รางความกว้างขนาดทางรถไฟตามโครงการนี้ใช้ความกว้างมาตรฐาน (Standard Gauge) ขนาด 1,435 มิลลิเมตร วัดจากริมรางในของทางรถวิ่ง ต่ำจากระดับหัวราง 14 มิลลิเมตร

 

ขบวนรถไฟฟ้า

รถไฟฟ้าใช้กระแสไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลต์ โดยรถไฟฟ้าจะเป็นแบบ 4 ถึง 6 ตู้ต่อหนึ่งขบวน ซึ่งสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง

 

ใกล้แหล่งความเจริญ

– ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ อาทิ อเวนิว รัชโยธิน เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว เซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา ไอทีสแควร์ และเทสโก้โลตัส หลักสี่

– โรงพยาบาลชั้นนำ อาทิ โรงพยาบาลเปาโลเกษตร โรงพยาบาลวิภาวดี โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลเซ็นทรัลเยนเนอรัล และโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ

– สถานศึกษาชื่อดัง อาทิ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงเรียนสารวิทยา มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

อีกแค่ 4 ปี ประชาชนที่อยู่ในเส้นพหลโยธินและลำลูกกา(บางส่วน) ก็จะได้รับความสะดวกสบายจากรถไฟฟ้าสายสีเขียวเส้นนี้แน่นอน

 

mrta.blogspot

 

mrta | realist | ddproperty