รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
เป็นโครงการตามแผนแม่บทระบบขนส่งทางราง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กำหนดเปิดให้บริการภายในพ.ศ. 2572 เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว ที่มีสมรรนะสูง ขนส่งผู้โดยสารได้ 10000-40000 คน/ชม.ทิศทาง ความเร็วสูงสุด 80 กม./ซม. มีการออกแบบทางวิ่งสอดคล้องกับระบบการเดินรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) โดยวางผังพื้นอาคารบริเวณเกาะกลางถนน อาคารสถานี มีระดับทางวิ่งสูง 15 เมตร ชานชาลากว้าง 20-25 เมตร ยาว 110 เมตร จึงใช้พื้นที่น้อยกว่าระบบรถไฟฟ้ามีความจุสูงที่มีในปัจจุบัน ลดผลกระทบด้านการเวนคืนน้อยที่สุด โดยมีบริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกแนล(ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้ความร่วมมือ CRRC ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จะเป็นผู้จัดหาให้ทั้งระบบอาณัติสัญญาณ ขบวนรถ และระบบขายตั๋วและจัดเก็บค่าโดยสาร
ความเป็นมาของโครงการ
ตามผลการศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการออกแบบเบื้องต้น โครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีเหลือง ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2550 – 2554 ได้แบ่งเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ ออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงรัชดา/ลาดพร้าว – พัฒนาการ และช่วงพัฒนาการ – สำโรง หรือโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรงในปัจจุบัน
ลักษณะโครงการ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เป็นระบบขนส่งมวลชนประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) มีลักษณะเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง มีระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กิโลเมตรรวม 23 สถานี มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสายสีน้ำเงินที่สถานีรัชดา (สถานีลาดพร้าวของสายสีน้ำเงิน) กับระบบขนส่งมวลชน 4 สาย คือ สายสีเทาของกรุงเทพ สายสีส้มบริเวณทางแยกลำสาลี รถไฟเชื่อมต่อท่าอากาศยาน (Airport Rail Link) บริเวณทางแยกต่างระดับพระราม 9 และสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง
รายละเอียดแนวเส้นทาง
โดยแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ตัวสถานีจะตั้งอยู่ช่วงหน้าอาคาร “จอดแล้วจร” (Park and Ride) บนแยกรัชดา-ลาดพร้าว ที่ตรงนี้จะเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT) หรือรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สายสีน้ำเงินระยะแรก) ไปตามแนวถนนลาดพร้าว โดยเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาของกรุงเทพมหานครที่แยกฉลองรัช และยกระดับข้ามทางด่วนฉลองรัชจนถึงทางแยกบางกะปิ จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวขวาไปทางทิศใต้ตามถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่ทางแยกลำสาลี ต่อจากนั้นแนวเส้นทางจะยกระดับข้ามทางแยกต่างระดับพระราม 9 โดยเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) และผ่านแยกพัฒนาการ แยกศรีนุช แยกศรีอุดมสุข แยกศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวขวาอีกครั้งไปทางทิศตะวันตก ตามแนวถนนเทพารักษ์ ผ่านจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง และสิ้นสุดแนวเส้นทางบริเวณถนนปู่เจ้าสมิงพราย รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 30.4 กิโลเมตร ประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 23 แห่ง โรงจอดรถศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง อาคารและลานจอดแล้วจร 1 แห่ง บริเวณพื้นที่ทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม
ตำแหน่งที่ตั้งทั้ง 23 สถานี
1.สถานีรัชดา จุดเริ่มสายรถไฟฟ้าสีเหลือง ตั้งอยู่หน้าอาคารจอดแล้วจรบนถนนรัชดาภิเษก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
2.สถานีภาวนา ตั้งอยู่ปากซอยภาวนา (ลาดพร้าว 41)
3.สถานีโชคชัย 4 ตั้งอยู่หน้าศูนย์การค้าโชคชัย 4 (ลาดพร้าว 53)
4.สถานีลาดพร้าว 71 ตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 71
5.สถานีลาดพร้าว 83 ตั้งอยู่บริเวณระหว่างซอยลาดพร้าว 83 กับซอยลาดพร้าว 85
6.สถานีมหาดไทย ตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 95 บรษัท ฟู๊ดแลนด์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต จำกัด(สาขาลาดพร้าว)
7.สถานีลาดพร้าว 101 ตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 101 ใกล้ตลาดสดลาดพร้าว
8.สถานีบางกะปิ ตั้งอยู่หน้าห้างแม็คโคร ใกล้กับเดอะมอลล์ บางกะปิ
9.สถานีลำสาลี ตั้งอยู่แยกลำสาลี(ด้านทิศใต้) เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม
10.สถานีศรีกรีฑา ตั้งอยู่แยกศรีกรีฑา (ด้านทิศใต้)
11.สถานีพัฒนาการ ตั้งอยู่ระหว่างจุดตัดทางรถไฟและจุดตัดถนนพัฒนาการ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์
12.สถานีกลับตัน ตั้งอยู่หน้าธัญญะ ช็อปปิ้ง พาร์ค และบ้านกลางเมือง ศรีนครินทร์
13.สถานีศรีนุช ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของแยกศรีนุช
14.สถานีศรีนครินทร์ 38 ตั้งอยู่บริเวณปากซอยศรีนครนิทร์ 38 ใกล้ธนาคารกรุงไทย
15.สถานีสวนหลวง ร.9 ตั้งอยู่ระหว่างห้างซีคอนแสควร์และห้างพาราไดซ์ พาร์ค
16.สถานีศรีอุดม แยกศรีอุดม (ด้านทิศใต้)
17.สถานีศรีเอี่ยม ตั้งอยู่บริเวณทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม (ด้านทิศเหนือของถนนบางนา-ตราด) จุดจอดแล้วจรและศูนย์ซ่อมบำรุง
18.สถานีศรีลาซาล ตั้งอยู่แยกศรีลาซาล (ด้านทิศใต้)
19.สถานีศรีแบริ่ง ตั้งอยู่แยกศรีแบริ่ง (ด้านทิศใต้)
20.สถานีศรีด่าน ตั้งอยู่ใกล้กับแยกศรีด่าน (ด้านทิศเหนือ)
21.สถานีศรีเทพา ตั้งอยู่ใกล้กับแยกศรีเทพา (ด้านทิศตะวันตก)
22.สถานีทิพวัล ตั้งอยู่ปากซอยหมู่บ้านทิพวัล
23.สถานีสำโรง ตั้งอยู่บริเวณจุดตัดถนนสุขุมวิท เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สำโรงที่สถานีสำโรง
ทำเลที่น่าสนใจย่านรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
- สถานีรัชดาภิเษก
ทำเลที่ตั้งช่วงระหว่าง 5 แยกรัชดา-ลาดพร้าว ถือเป็นจุดที่ดีมาก เพราะมีจุดเชื่อมต่อกันระหว่างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองกับสายสีน้ำเงิน สามารถเดินทางต่อในใจกลางเมืองหลวงได้สบาย
- สถานีลำสาลี
จุดเชื่อมต่อสายสีส้ม อยู่บนถนนรามคำแหงตัดกับถนนศรีนครินทร์ ก็เป็นอะไรที่เยี่ยมยอดสำหรับการเดินทางและการพักอาศัยครับ และอยู่ใกล้สนามราชมังคลากีฬา สถานเพียง 3 กิโลเมตรเท่านั้น
- สถานีพัฒนาการ
เหมะกับคนที่เดินทางไปต่างจังหวัด ต่างประเทศบ่อย ๆมีจุดเชื่อมต่อสนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งยังเชื่อมต่อแนวรถไฟฟ้าสายสีแดงอีกด้วย
- สถานีสวนหลวงร.9
ใกล้ห้างโรบินสันและห้างพาราไดซ์ พาร์ค มีตลาดรถไฟศรีนครินทร์ให้ไปเดินเล่น และสวนสาธารณะขนาดใหญ่ คือสวนหลวงร.9
จุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าและระบบมวลชนอื่น 4 จุด
1.สถานีรัชดาฯ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (MRT)
2.สถานีลำสาลี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี
3.สถานีพัฒนาการ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์และรถไฟสายตะวันออก
4.สถานีสำโรง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ
ความปลอดภัย
สถานีรถไฟฟ้าก่อสร้างตามาตรฐาน ความปลอดภัย NFPA130 มีการทำทางขึ้น-ลง พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ลิฟต์/บันไดเลื่อน 4 แห่ง มีทางลาดเชื่อมต่อลิฟต์ สำหรับคนพิการ 1 ตัว เปิดโล่ง และสามารถใช้เป็นสะพานลอยคนข้าม ชั้นที่1ออกบัตรโดยสาร (Concourse) มีที่จำหน่ายบัตรโดยสาร ส่วนชั้น 2 ชานชาลา (Flatform) สำหรับจอดรถฟฟ้ารับ-ส่งผู้โดยสาร มีประตูอัตโนมัติกั้นที่ชานชาลา สูงประมาณ 1.50 เมตร เพื่อป้องกันผู้โดยสารพลัดตก ปลายชานชาลาทั้ง 2 ด้านมีบันใดสำหรับผู้โดยสารขึ้น-ลง บันใดเลื่อน และบันใดสำหรับหนีภัยในกรณีฉุกเฉิน 2 แห่ง พร้อมลิฟต์ 2 ตัวสำหรับผู้พิการ
อาคารจอดแล้วจร (Park & Ride)
มีอาคารจอดรถเชื่อต่อสถานีรถไฟฟ้าศรีเอี่ยม จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณแขวงทางสมุทรปราการ อาคาร 7 ชั้น สามารถจอดรถได้ 3000 คัน
ศูนย์การซ่อมบำรุง
ตั้งอยู่ที่บริเวณทิศตะวันตกของทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ ติดกับถนนบางนา-ตราด มีพื้นที่ 112 ไร่ ภายในประกับด้วย
*ศูนย์ควบคุมการเดินรถ
*กลุ่มซ่อมบำรุง
*สำนักงานบริหารและจัดการ
*โรงจอดรถไฟฟ้า
CR.
thairath | mrta | realist | home | estopolis | hansettakij