วิธีดูแลผู้สูงอายุในบ้านให้ปลอดภัยจากไวรัสโควิค-19
วิธีดูแลผู้สูงอายุในบ้านให้ปลอดภัยจากไวรัสโควิค-19
เนื่องจากช่วงนี้มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 อย่างรุนแรง และเป็นเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อได้ง่าย จากละอองฝอยของสารคัดหลั่งต่าง ๆ อาทิ น้ำมูก น้ำลาย และละอองจากการไอจาม ที่แม้แค่คุยกันในระยะ 1-1.5 เมตร ก็สามารตติดต่อได้แล้ว ซึ่งหากได้รับเชื้อไป ระดับความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน ในผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อบางรายอาจไม่ค่อยมีอาการ หรืออาการเล็กน้อย กักตัวและรักษาก็สามารถหายได้เอง แต่ในผู้ป่วยบางรายที่ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง เช่น ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเหล่านี้ ภูมิคุ้มกันจะน้อยและลดลงตามวัย อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคร้ายนี้ได้ ทำให้มีอาการป่วยหนักกว่าผู้ป่วยรายอื่น และอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยรายอื่น ๆ ด้วย ฉะนั้นบ้านไหนที่มีคนเฒ่าคนแก่อาศัยอยู่ด้วยในบ้าน ต้องมีการดูแลและระแวดระวังอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุที่บ้านต้องมาเสี่ยงกับไวรัสร้ายนี้
วันนี้ #Homezoomer จึงได้รวบรวมแนวทางการปฏิบัติตน สำหรับบ้านที่มีผู้สูงอายุอยู่ในการดูแลของตัวเอง ว่าต้องทำอย่างไร ปฏิบัติตนอย่างไร ให้ผู้สูงอายุปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโควิค-19 จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย….
- ควรจัดให้มีคนดูแลผู้สูงอายุให้น้อยคนที่สุด จะให้ดีคือมีคนคอยดูแลเพียงคนเดียวเท่านั้นเพื่อลดอัตราเสี่ยงที่จะนำเชื้อมาแพร่ให้กับผู้สูงอายุในบ้าน และควรเป็นผู้ที่อยู่บ้านได้มากที่สุดหรือมีความจำเป็นต้องออกจากบ้านน้อยที่สุด
- งดให้ผู้สูงอายุออกจากบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ หากมีความจำเป็นต้องออกจากบ้านควรเลือกเวลาที่ไม่มีความแออัดของผู้คน และเลี่ยงการเดินทางด้วยรถสาธารณะ สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาและพกเจลแอลกอฮอล์เพื่อทำความสะอาดมือทุกครั้งหลังสัมผัสสิ่งของ
- เมื่อผู้ดูแลมีความจำเป็นต้องออกไปทำธุระด้านนอก เมื่อกลับเข้ามาในบ้านควรทำความสะอาดร่างกายทันทีและรวมไปถึงสิ่งของที่นำกลับเข้ามาในบ้านด้วย
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกับผู้สูงอายุ หรือแยกสำรับ คนละภาชนะ
- ควรแยกห้องนอนและของใช้ส่วนตัว ไม่นอนด้วยกัน แต่หากเลี่ยงไม่ได้ ควรเว้นระยะห่างที่นอนของผู้สูงอายุให้ห่างจากผู้ดูแลคนอื่น ๆ ให้มาที่สุด นอกจากนี้ภายในห้องพักควรเปิดโล่งให้อากาศถ่ายเท เลี่ยงการนอนรวมกันในที่ปิดและงดการเปิดแอร์
- หมั่นทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสบ่อย อาทิ ลูกบิด/มือจับต่าง ๆ รวมไปถึงสวิตช์ไฟ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือแอลกอฮอล์ 70%
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม หากผู้สูงอายุมีการติดเชื้อเกิดขึ้น ซึ่งอาการอาจไม่ได้ชัดเจน เช่นอาจไม่ได้มีไข้ แต่อาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองลดลงอย่างรวดเร็ว ควรทำการปรึกษาแพทย์ทันทีอย่าละเลยเด็ดขาด เพราะผู้สูงอายุมักมีอาการที่รุนแรงมากกว่าวัยอื่น ๆ
…
เรียบเรียงโดย Homezoomer
เว็บไซต์ ประกาศ ซื้อ ขาย บ้าน มือ1 มือ2 : Hubzoomer.com
ติดตามข่าวสาร รีวิวบ้านและคอนโด สาระน่ารู้ : Homezoomer