ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของสินทรัพย์ในไทยได้ไหม

ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของสินทรัพย์ในไทยได้ไหม ?

ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของสินทรัพย์ในไทยได้ไหม ?

ปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่ามีชาวต่างชาติเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านเราค่อนข้างเยอะพอสมควรและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต รวมไปถึงมีการตั้งกระทู้ถามกันอย่างมากมาย ว่าชาวต่างชาตินั้นสามารถเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยอย่างคอนโดน บ้าน ในประเทศไทยได้หรือไม่ วันนี้เราจะมาตอบคำถามนี้กันครับ

ว่าด้วยเรื่องของกฎหมายสินทรัพย์ในไทย กล่าวว่า ชาวต่างชาตินั้นสามารถถือสิทธิ์ครอบครองที่ดินและสินทรัพย์ในประเทศไทยได้ แต่ด้วย 3 วิธีนี้เท่านั้น คือ การซื้อคอนโดมิเนียมโดยสมบูรณ์ สิทธิในการออกเสียงในบริษัทที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินและการทำสัญญาเช่า ซึ่งทั้งหมด 3 วิธีนี้ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการครอบครองกรรมสิทธิ์สินทรัพย์ในประเทศไทยของชาวต่างชาติ เช่น ประเภทของสินทรัพย์ สิทธิ์ในการครอบครองคอนโดมิเนียม หรือความสัมพันธ์กับคนสัญชาติไทย

สิทธิการครอบครองคอนโดมิเนียมสำหรับชาวต่างชาติ

ตามกฎหมายการครอบครอบห้องชุดคอนโดมิเนียมในไทย ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของได้ 49% จาก 100% ของห้องทั้งหมดของคอนโดมิเนียม ซึ่งก็คืออีก 51% ต้องมีคนไทยเป็นเจ้าของ ซึ่งชาวต่างชาติมีสิทธิ์การครอบครองเหมือนคนไทยทั้งหมด แต่มีข้อยกเว้นดังนี้คือ ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยด้วยวีซาพำนักระยะยาวหรือทำงานในประเทศไทย ถ้าต้องการซื้อห้องชุดคอนโดมิเนียมจะต้องโอนเงินมาจากธนาคารต่างประเทศ โอนมายังธนาคารในประเทศไทยเพราะจำเป็นต้องมีใบเสร็จรับเงินหรือใบรับรองจากธนาคาร หรือถ้าชาวต่างชาติมีเงินอยู่ในบัญชีประเทศไทยก็ต้องโอนไปต่างประเทศก่อนแล้วจึงโอนกลับมาที่ประเทศไทย ทั้งหมดนี้ก็เพื่อป้องกันการทำผิดกฎหมายฟอกเงินนั่นเอง

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น โครงการในประเทศไทยที่มีเจ้าของเป็นชาวต่างชาติถึง 49% นั้น ยังมีอยู่น้อยมาก ถ้าหากโครงการคอนโดฯ แบบ freehold ที่มีสัดส่วนชาวต่างชาติถือครองกรรมสิทธิ์เกิน 49% ผู้ซื้อชาวต่างชาติทั้งหมดก็เรียกร้องให้เจ้าของโครงการทำสัญญาแบบ Protected lease ให้ได้

สิทธิการครอบครองที่ดินสำหรับชาวต่างชาติ

ตามกฎหมายแล้วชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของที่ดินเพื่ออยู่อาศัยได้ แต่มีข้อยกเว้นว่า ต้องได้รับอนุญาติจากกระทรวงมหาดไทยแห่งประเทศไทย และเป็นเจ้าของได้ไม่เกิน 1 ไร่ หรือ 1,600 ตารางเมตร ซึ่งสามารถนำเงินของประเทศตัวเองมาลงทุนในประเทศไทยได้ไม่เกิน 40 ล้านบาท หรือ 1.3 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นที่ไม่ใช่สัญชาติไทย ซึ่งหุ้นที่ถือต้องไม่เกิน 49% จากหุ้นทั้งหมดในบริษัท และถ้าหากผู้ถือหุ้นหลักเป็นคนไทยจะไม่สามารถครอบครองที่ดินหรือทรัพย์สินได้ ในกรณีที่ชาวต่างชาติวานให้คนที่มีสัญชาติไทยทำการซื้อสินทรัพย์ให้ก็จะตกเป็นโมฆะไปและผิดตามหลักกฎหมายด้วย

โดยผู้ซื้อต้องเป็นคนชำระค่าภาษีและค่าธรรรมเนียมทั้งหมดในการซื้อสินทรัพย์ที่ประเทศไทย แต่ในกรณีค่าธรรมเนียมในการโอน ผู้ซื้อกับผู้ขายจะแบ่งส่วนกันคือ แต่ละฝ่าย 0.001%

ชาวต่างชาติที่สมรสกับคนไทย

กรณีนี้ถ้าชาวต่างชาติสมรสกับคนไทยที่ยังคงสัญชาติไทยไว้ไม่ได้เปลี่ยน สามารถซื้อที่ดินเป็นสินทรัพย์ส่วนตัวได้ แต่ไม่สามารถซื้อเป็นสินสมรสได้ โดยคู่สมรสไทยและชาวต่างชาติต้องทำเอกสารเป็นรายลักษณ์อักษรร่วมกันต่อหน้าเจ้าหน้าที่พนักงานว่า เงินทั้งหมดที่นำมาซื้อที่ดินเป็นสินส่วนตัวทั้งหมดของคู่สมรสชาวไทยแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่หากคู่สมรสชาวไทยมีเอกสารยืนยันได้ว่าเงินทั้งหมดเป็นสินส่วนตัวอยู่แล้วไม่ใช่สินสมรส ก็สามารถซื้อสินทรัพย์ได้โดยไม่ต้องให้คู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติเซ็นยืนยัน

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า ปัจจุบันนี้มีชาวต่างชาติเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยอยู่เป็นจำนวนมาก มีทั้งมาทำงาน และอยู่อาศัย ฯลฯ จึงส่งผลให้การซื้อเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ตอบโจทย์ของชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยได้ทั้งหมด จงมีอีกหนึ่งวิธีคือการเช่า แล้วการเช่าสำหรับชาวต่างชาติมีกี่รูปแบบ แบบใดบ้าง ไปดูกันเลย

การเช่าอสังหาริมทรัพย์สำหรับชาวต่างชาติ

เป็นอีกวิธีที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย เพราะเนื่องจากมีกฎเกณฑ์ไม่มาก เป็นวิธีที่ถือว่าสะดวกและง่ายกว่าวิธีอื่น การเช่าอสังหาริมทรัพย์สำหรับชาวต่างชาติจะมี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ การเช่าระยะสั้น และการเช่าระยะยาว

  • การเช่าระยะสั้น คือมีสัญญาการเช่าไม่เกิน 3 ปี โดยไม่ต้องจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าหน้าที่พนักงาน มีเพียงสัญญาเช่าระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่าเท่านั้น เช่น หอพัก อพาร์ทเม้นท์ คอนโดมิเนียม ฯลฯ
  • การเช่าระยะยาว คือ มีสัญญาเช่าตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป และมีระยะเวลาการเช่าไม่เกิน 30 ปี โดยต้องไปจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินที่อสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งอยู่ หากครบสัญญาเช่าสามารถต่อสัญญาได้อีกไม่เกิน 30 ปี นับจากวันที่ต่อสัญญา

จากทั้งหมดนี้ก็ยังเห็นได้ว่ากฎหมายไทยของเราก็ยังคงมีการปกป้องทรัพย์สินในเมืองไทยของเราอยู่ แต่ก็เอื้อให้กับชาวต่างชาติที่จะเข้ามาอยู่อาศัยและทำงานในประเทศไทยเช่นกันซึ่ง ก็ต้องทำตามกฎเกณฑ์ของบ้านเราให้ถูกต้องซึ่งก็มีอยู่หลายวิธีให้เลือกตามความเหมาะสม