กู้ร่วม&ค้ำประกัน

กู้ร่วม & ค้ำประกัน ต่างกันอย่างไร?

กู้ร่วม & ค้ำประกัน ต่างกันอย่างไร?

ต้องยอมรับเลยว่ายังมีบางคนที่ยังไม่รู้ว่าการกู้ร่วมกับการค้ำประกัน 2 อย่างนี้มันต่างกันตรงไหน ยังไงบ้าง และ 2 อย่างนี้แหละ อาจจะกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณนั้นกู้สินเชื่อบ้านไม่ผ่านเพราะติดแบล็คลิสจากการที่ไปทำการกู้ร่วมหรือค้ำประกันให้ใครโดยที่ไม่มีความรู้และไปผูกมัดตัวเองไว้กับหนี้ของคนรู้จัก เพราะฉะนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักระหว่างการกู้ร่วมและการค้ำประกัน ว่า 2 อย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร

ความหมายต่างกัน

การกู้ร่วม คือ การตกลงและยอมรับการเป็นหนี้ร่วมกัน โดยทั้งสองฝ่ายจะมีหน้าที่ในการรับผิดชอบในการชำระหนี้ก้อนนี้ด้วยกันและมีโอกาสที่จะมีกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์สิน เหนือจากการเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกันในการก่อสร้างหนี้ในครั้งนี้

การค้ำประกัน คือ การนำบุคคลมาเป็นหลักประกันสินเชื่อให้กับผู้ที่ขอสินเชื่อ และยังเป็นการยอมรับไปโดยปริยายว่าตนจะเป็นผู้รับผิดชอบหนี้ก้อนนี้แทนหากผู้ขอกู้ผิดสัญญา อาทิ ไม่ชำระหนีตามกำหนด ซึ่งสถาบันการเงินจะสามารถไปไล่เบี้ยกับผู้ค้ำประกันให้รับผิดชอบแทนได้ *การค้ำประกันคือการทำสัญญาว่าจะชำระหนีแทน หากลูกหนี้ปผิดสัญญา

คุณสมบัติต่างกัน

ผู้ร่วมกู้ต้องมีคุณสมบัติเป็นบุคคลในครอบครัว หรือมีความสัมพันธ์เป็นคนในครอบครัว อาทิ พ่อ แม่ ลูก พี่น้องร่วมสายเลือด หรือเป็นสามีภรรยากันที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือมีหลักฐานการแต่งงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่เชื่อถือได้

ในส่วนของผู้ค้ำประกัน จะเป็นใครก็ได้ทั้งนั้น เครือญาติ เพื่อน หรือแม้แต่คนรู้จัก แต่ต้องมีคุณสมบัติบางอย่าง เช่น มีประวัติเครดิตที่ดี หรือมีฐานรายรับที่มั่นคง

ควรจะมีหหรือไม่ ?

คำตอบคงอยู่ที่แต่ละตัวบุคคลจะพิจารณามากกว่า เพราะสถาบันการเงินจะนำประวัติรายได้และภาระหนี้สินต่าง ๆ ของผู้ร่วมกู้นี้มาพิจารณาเพื่ออนุมัติสินเชื่อและวงเงินด้วย เพราะงั้นหากผู้กู้ร่วมของคุณมีรายรับที่มั่นคง และมีประวัติที่ดี ก็จะเป็นส่วนช่วยให้มีโอกาสอนุมัติสินเชื่อผ่านมากขึ้น

ซึ่งถ้าในกรณีของผู้ค้ำประกัน ซึ่งบุคคลที่จำเป็นจะต้องมีผู้ค้ำประกันคือบุคลที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามเกณฑ์การขอสินเชื่อ อาทิ มีประวัติการผ่อนชำระหนี้ก่อนหน้านี้ไม่ดี ไม่เคยขอสินเชื่อมาก่อน หรือแม้แต่มีอายุที่ไม่ถึงเกณฑ์ จึงทำให้การขอสินเชื่อมีโอกาสผ่านยาก เพราะฉะนั้นจึงต้องมีผู้คำประกันเพื่อเพิ่มโอกาสและความน่าเชื่อถือมาขึ้น

ความเสี่ยง

เมื่อมีการตกลงเป็นผู้ร่วมกู้กันแล้วจะมีภาระหนี้เท่าเทียมกัน เมื่อผู้กู้หลักผิดสัญญาในการชำระหนี้ การรับผิดชอบทั้งหมดก็จะตกไปอยู่ที่ผู้กู้ร่วมอีกคนทันที่

ซึ่งในกรณีของผู้ค้ำประกันนั้น จะไม่มีส่วนได้อะไรจากตรงนี้เลย เพราะฉะนั้นถ้าเป็นไปได้ก็ไม่ควรไปค้ำประกันให้ใครเลย เพราะเมื่อผู้กู้ได้ทำการผิดสัญญา เบี้ยวนัดชำระ ผู้ค้ำประกันจะต้องมานั่งชำระหนี้นั้นแทน

 

เรียบเรียงโดย Homezoomer

 

กู้ร่วม&ค้ำประกัน