รวมโรคในต้นไม้ที่ปลูกในบ้านและวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
รวมโรคในต้นไม้ที่ปลูกในบ้านและวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ช่วงนี้เทรนด์การตกแต่งบ้านด้วยต้นไม้กำลังมาแรง เนื่องจากเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่ซุกซนเหมือนกับสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขและแมว แถมการลงทุนยังน้อยกว่า ใช้ตกแต่งบ้านก็คูลวางไว้มุมไหนก็สวย แต่ก็มักไม่ได้ศึกษาถึงวิธีการดูแลอย่างละเอียดรอบครอบ ทำให้เลี้ยงไม่รอด…
ต้นไม้ก็มีชีวิต มีความชอบไม่เหมือนกัน แต่ละต้นแต่ละพันธุ์ที่ต่างกันก็จะมีความชอบที่ไม่เหมือนกัน เช่นชอบน้ำเยอะ-น้อย, ชอบแดดเยอะ-น้อย เป็นต้น จึงต้องการการดูแลเอาใจใส่ที่ดีเหมือนกับสัตว์เลี้ยงทั่วไป เพราะฉะนั้นก่อนที่จะคิดนำเขามาเลี้ยงเราควรศึกษาความชอบและการดูแลของเขาให้ดีก่อน และสำรวจตัวเองด้วยว่าเราเหมาะจะเลี้ยงเขาหรือไม่
และอีกหนึ่งเรื่องที่เราควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนจะนำต้นไม้สักต้นมาปลูกก็คือเรื่องของโรคในต้นไม้ต่างๆ เพราะหนึ่งในปัญหาที่ทำให้ต้นไม้ของเราตายหรือเลี้ยงแล้วไม่สวย เจริญเติบโตไม่ดีเหมือนคนอื่นก็เพราะโรคในต้นไม้เหล่านี้แหละ และโรคยอดฮิตในต้นไม่ที่เลี้ยงในบ้านนั่นคือ “โรคเชื้อราในต้นไม้” ลองมาดูกันดีกว่าว่ามีโรคอะไรบ้าง พร้อมวิธีปฐมพยาบาลเบื้อต้นก่อนรุกลามไปไกล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับต้นไม้ของเราในอนาคต
โรคเน่าเละ (Sofe Rot) มักจะพบในต้นไม้ที่ปลูกในบ้านที่มีความชื้นสูง ดินในกระถางแน่นและไม่มีการเปลี่ยนดินเลย ทำให้เกิดน้ำขังสะสม ความชื้นไม่ได้ระบายออก จนมีเชื้อแบคทีเรีย (Erwinia carotovora) เข้ามาทำลายส่งผลให้เกิดรากเน่าตามมา
โรครากเน่า (Root Rot) มักเกิดจากเชื้อราที่ชื่อว่า Pythium spp. เข้ามาทำลาย ซึ่งเจ้าเชื้อรานี้จะมาพร้อมกับวัสดุที่ใช้ปลูกนั้นชื้นหรือแฉะจนเกินไปนั่นเอง อาการของโรคก็คือ รากเน่า ต้นเหี่ยวเฉา ใบที่โคนเหลืองและร่วง ท้ายที่สุดต้นไม้ของเราก็จะตาย นอกจากวัสดุที่ใช้แล้วยังมีสาเหตุมากจากการปรับตัวของต้นไม้ไม่ทัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นต้นไม้ที่นำเข้าจากต่างประเทศนั่นเอง
โรคโคนเน่า (Stem Rot) เป็นโรคที่พบในต้นไม้ที่เกิดจากการปักชำ และมักจะพบมากในต้นอโกลนีมาและสาวน้อยประแป้ง ซึ่งก็เป็น 2 ต้นยอดฮิตที่ส่วนใหญ่นำมาตกแต่งภายในบ้านกัน โดยจะมีเจ้าเชื้อรา Fusarium spp. เข้ามาทำลายตรงส่วนที่เป็นรอยตัด สังเกตุได้จากโคนกิ่งมีสีน้ำตาลและดำ ใบเหี่ยวเหลืองร่วง หากไม่รีบรักษาสุดท้ายอาจรุกลามไปจนทำให้กิ่งเน่าทั้งกิ่งและตายในที่สุด
โรคราเม็ดผักกาด (Southern Blight) มีสาเหตุมาจากเชื้อราชื่อว่า Sclerotium rolfsii ที่มักติดมากับวัสดุปลูกอย่างกาบมะพร้าวสับ ประกอบกับดินที่ใช้ปลูกนั้นระบายน้ำได้ไม่ดีทำให้เชื้อราเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วและทำลายต้นไม้ของเราได้ง่ายขึ้น อาการของโรคนี้ก็คือ จะพบกลุ่มเชื้อราเป็นเม็ดเล็กๆ สีขาวปกคลุมบริเวณที่มีการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังพบอาการโคนต้นไม้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ใบเริ่มเหี่ยวร่วมด้วย
โรคใบจุด (Leaf Spot) เป็นอีกหนึ่งยอดฮิตที่มักเกิดกับต้นไม้ที่ปลูกในบ้าน เนื่องจากภายในบ้านมีการถ่ายเทอากาศที่ไม่ค่อยสะดวกเท่ากับภายนอกบ้าน อับลม ทำให้ความชื้นในอากาศ อาทิ เชื้อรา Colletotrichum sp. พุ่งตรงมาทำร้ายต้นไม้ของเรา โดยอาการที่พบคือจุดสีเหลืองที่เป็นวงกว้างบนใบและตรงกลางจะเป็นสีน้ำตาลขนาดใหญ่ และเมื่ออากาศร้อนอบอ้าวเมื่อไหร่จะยิ่งทำให้โรครุกลามไปมากกว่าเดิม
สรุปแล้วโรคที่มักพบในต้นไม้ที่ปลูกในบ้านก็มีสาเหตุหลักๆ มาจากเชื้อราและความชื้นนั่นเอง เพราะฉะนั้นเราลองมาดูวิธีดูแลเบื้องต้นเพื่อหลีกเลี่ยงโรคเหล่านี้กัน ว่าจะมีวิธีอย่างไรกันบ้าง
- ย้ายต้นไม้ออกมารับลมและแสงแดดภายนอกบ้าง แต่ต้องระวังอย่างให้โดนแดดที่แรงจนเกินไป
- ตัดส่วนที่แสดงอาการว่าติดเชื้อออก เช่น ใบ กิ่ง ราก ลำต้น แล้วนำไปเผ่าทิ้งหรือตากแดดแรงๆ เพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อจะไม่กลับมาอีก
- เปลี่ยนวัสดุที่ใช้ปลูกใหม่ เลือกที่มีการระบายน้ำได้ดี
- ต้นที่มีอาการสาหัสมาก ฉีดพ่นด้วยสารปฏิชีวนะ เช่น สเตร็ปโตไมซิน (Streptomycin) ทุกสัปดาห์จนกว่าต้นจะแข็งแรงแตกใบใหม่
..
เรียบเรียงโดย Homezoomer
เว็บไซต์ ประกาศ ซื้อ ขาย บ้าน มือ1 มือ2 : Hubzoomer.com
ติดตามข่าวสาร รีวิวบ้านและคอนโด สาระน่ารู้ : Homezoomer