ทางด่วนกรุงเทพ

ทางด่วนกรุงเทพ

ทางด่วนกรุงเทพ

ทางด่วน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการขับขี่ของคนใช้รถใช้ถนน ที่จะช่วยให้เดินทางไปไหนมาไหนได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น แถมยังเป็นเส้นทางที่ช่วยเลี่ยงรถติดอีกด้วย ซึ่งหากเป็นผู้ใช้ทางด่วนอยู่เป็นประจำก็จะมีความคุ้นชินเป็นอย่างดี แต่หลายคนที่ไม่ค่อยได้ใช้หรือเป็นนักขับมือใหม่ก็อาจจะมีความสับสนอยู่บ้าง วันนี้ #Homerzoomer จะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับทางด่วนในกรุงเทพ จะมีทางด่วนอะไรบ้าง ไปดูกันเลย…

ทางด่วนที่เปิดให้ใช้บริการในประเทศไทย

ทางด่วนกรุงเทพ

📌 เฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1)

ทางพิเศษสายแรกของไทย มีระยะทางทั้งสิ้น 27.1 กิโลเมตร เปิดให้ใช้บริการวันที่ 29 ต.ค. 2524 โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เชื่อมต่อระหว่างภาคต่าง ๆ ของประเทศเข้าด้วยกัน เลี่ยงการจราจรที่หนาแน่นใจกลางเมือง มากไปกว่านั้นยังช่วยให้การขนส่งระหว่างท่าเรือคลองเตยไปยังภาคอื่น ๆ เป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น

ทางด่วนกรุงเทพ

📌 ศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2)

เป็นทางพิเศษระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ส่วนในเมือง) มีระยะทางประมาณ 38.4 กิโลเมตร เปิดให้ใช้บริการเมื่อวันที่ 2 ก.ย.2563 โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เพื่อช่วยแบ่งเบาการจราจรบนทางพิเศษเฉลิมมหานคร มากไปกว่านั้นยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการคมนาคมในกรุงเทพให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ทางด่วนกรุงเทพ

📌 ฉลองรัช (สายรามอินทรา-อาจณรงค์)

ทางพิเศษฉลองรัช ถูกแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ซึ่งสายรามอินทรา-อาจณรงค์ เป็นช่วงแรกที่เปิดให้ใช้บริการก่อน มีระยะทางประมาณ 18.7 กิโลเมตร โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เปิดให้ใช้บริการในวันที่ 6 ต.ค.2539 มีเส้นทางเริ่มต้นจากบริเวณอาจณรงค์ (ปลายซอยสุขุมวิท 50) และสิ้นสุดช่วงแรกที่บริเวณถนนรามอินทรา กิโลเมตรที่ 5.5 โดยมีด่านเก็บค่าผ่านทางรวม 10 ด่าน

ทางด่วนกรุงเทพ

📌 ฉลองรัช (สายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก)

เป็นช่วงที่ 2 ของทางพิเศษฉลองรัช มีระยะทางประมาณ 9.5 กิโลเมตร โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เปิดให้ใช้บริการในวันที่ 23 ม.ย.2552 มีจุดเริ่มต้นต่อจากช่วงแรกคือที่ถนนรามอินทรา บริเวณ กิโลเมตรที่ 5.5 และไปสิ้นสุดช่วงที่ 2 บริเวณคลองพระยาสุเรนทร์ ถนนกาญจนาภิเษก

ทางด่วนกรุงเทพ

📌 บูรพาวิถี (สายบางนา-ชลบุรี)

เป็นทางพิเศษของไทยที่ได้รับการจัดอันดับโดยกิเนสส์บุ๊คว่าเป็นสะพานทางรถยนต์ที่ยาวที่สุดลำดับที่ 6 ในโลก โดยมีระยะทางทั้งสิ้น 55 กิโลเมตร โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เปิดให้ใช้งานครั้งแรกวันที่ 9 ม.ย.2541 และเปิดให้ใช้งานตลอดสายเมื่อวันที่ 7 ก.พ.2543 มีจุดเริ่มต้นที่เขตบางนา และสิ้นสุดที่เมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

ทางด่วนกรุงเทพ

📌 อุดรรัถยา (สายบางปะอิน-ปากเกร็ด)

มีระยะทางรวม 32 กิโลเมตร โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เปิดให้ใช้งานในวันที่ 2 ธ.ค.2541  มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อมาจากทางพิเศษศรีรัช บริเวณจุดตัดกับถนนแจ้งวัฒนะ จังหวัดนนทบุรี และสิ้นสุดที่ถนนกาญจนาภิเษก บริเวณกิโลเมตรที่ 79

ทางด่วนกรุงเทพ

📌 S1 (ทางด่วนขั้นที่ 3 สายใต้ อาจณรงค์-บางนา)

เป็นทางด่วนขั้นที่ 3 หรือที่รู้จักกันในนามทางพิเศษสายบางนาอาจณรงค์ มีระยะทางทั้งสิ้น 4.7 กิโลเมตร โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เปิดให้ใช้บริการเมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2548 มีจุดเริ่มต้นที่ปลายทางพิเศษฉลองรัช และไปสิ้นสุดที่ด่านเก็บค่าผ่านทางบางนา เชื่อมต่อกับทางพิเศษบูรพาวิถี บริเวณกิโลเมตรที่ 6

ทางด่วนกรุงเทพ

📌 กาญจนาภิเษกใต้ (สายบางพลี-สุขสวัสดิ์)

เป็นส่วนหนึ่งของถนนกาญจนาภิเษกหรือถนนวงแหวนรอบนอก เดิมชื่อว่าทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ มีระยะทางประมาณ 22.5 กิโลเมตร เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พ.ย.2550 โดยไม่เก็บค่าผ่านทาง และมาเริ่มเก็บค่าผ่านทางในวันที่ 23 มี.ค.2552 โดยมีจุดเริ่มต้นที่ถนนสุขสวัสดิ์ และสิ้นสุดที่บริเวณทางแยกต่างระดับวัดสลุด อำเภอบางพลี

ทางด่วนกรุงเทพ

📌 ประจิมรัถยา (สายศรีรัช-วงแหวน)

เป็นทางพิเศษที่เชื่อมระหว่างฝั่งตะวันตกกับฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร และบางส่วนของจังหวัดนนทบุรี มีระยะทางประมาณ 16.7 กิโลเมตร โดยเปิดให้บริการ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559 มีจุดเริ่มต้นที่ถนนกาญจนาภิเษกและตรงไปเชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัชบริเวณด้านหน้าสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)

 

ทางหลวง และอื่น ๆ เป็นเส้นทางพิเศษพิเศษระหว่างเมืองและอื่น ๆ ที่มีการเก็บเงินค่าบริการเช่นเดียวกับทางด่วน

ทางด่วนกรุงเทพ

📌 ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์)

เป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายแรกของประเทศไทย มีระยะทางยาว 149.300 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดคับคั่งในถนนสุขุมวิท และถนนเทพรัตน และเป็นทางเชื่อมเข้าสู่ท่าอากาศยานสากลแห่งใหม่อย่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ทางด่วนกรุงเทพ

📌 ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตกและตะวันออก)

เป็นถนนสายสำคัญที่มีเส้นทางเชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนล้อมรอบตัวเมืองกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ รวมถึงผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 181 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีปริมาณการจราจรและการขนส่งเพิ่มขึ้น

ทางด่วนกรุงเทพ

📌 อุตราภิมุก (ดอนเมืองโทลล์เวย์)

คนทั่วไปเรียกว่า โทลล์เวย์ เริ่มจากบริเวณเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร แล้วสิ้นสุดเส้นทางที่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี รวมระยะทางทั้งสิ้น 28.224 กิโลเมตร โดยเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2537

 

เรียบเรียงโดย Homezoomer

เว็บไซต์ ประกาศ ซื้อ ขาย บ้าน มือ1 มือ2 :  Hubzoomer.com

ติดตามข่าวสาร รีวิวบ้านและคอนโด สาระน่ารู้ : Homezoomer