การครอบครองปรปักษ์คืออะไร

การครอบครองปรปักษ์คืออะไร

การครอบครองปรปักษ์คืออะไร

หลายคนอาจเคยได้ยินหรือรู้จักคำว่า “การครอบครองปรปักษ์” กันมาบ้าง แต่ไม่ได้รู้ความหมายของคำอย่างลึกซึ้งเนื่องจากไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัวเอง แต่หารู้ไม่ว่ามีบางคนเสียต้องปวดหัวและเสียที่ดินของตัวเองไปแบบฟรี ๆ เพราะคำคำนี้

การครอบครองปรปักษ์ ว่าง่าย ๆ ก็คือการที่มีบุคคลอื่นมาใช้ประโยชน์ในที่ดินของเราอย่างเปิดเผยเป็นเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป บุคคลนั้นจะสามารถแย่งกรรมสิทธิ์ที่ดินของเราได้โดยการฟ้องร้องขอเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนั้น ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 “บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ โดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกัน เป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์”

ดังนั้นอย่างชะล่าใจ หากไม่อยากโดนแย่งที่ดินไปแบบฟรี ๆ จากข้อกฎหมายการครอบครองปรปักษ์ เจ้าของที่ดินต้องใช้ประโยชน์จากที่ดินของตัวเองให้คุ้มค่าที่สุดไม่ปล่อยให้รกร้าง และต้องหมั่นใส่ใจคอยตรวจตาที่ดินของตัวเองอยู่เสมอ

เงื่อนไขเข้าข่ายการครอบครองปรปักษ์ สามารถแย่งกรรมสิทธิ์ได้ เจ้าของอย่าชะล่าใจ!!

  1. ใช้ประโยชน์ – ใช้ประโยชน์จากที่ดินของผู้อื่น เช่น อยู่อาศัย ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
  2. ครอบครองโดยสงบ – ใช้ประโยชน์จากที่ดินโดยที่เจ้าของที่ดินไม่โต้แย้งหรือไม่ฟ้องร้องขับไล่เป็นคดีความ
  3. ครอบครองโดยเปิดเผย – ใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างเปิดเผย ไม่ได้ทำการปิดบังซ่อนเร้น
  4. มีเจตนาเป็นเจ้าของ – ใช้ประโยชน์เสมือนว่าเป็นที่ดินของตนเอง เช่น ติดป้ายประกาศว่าที่ดินเป็นของตน
  5. ครอบครองโดยสุจริต – ใช้ประโยชน์อย่างเปิดเผย โดยที่ไม่ได้บุกรุกหรือฉ้อโกงที่ดินคนอื่นมา
  6. ครอบครองทรัพย์สินที่มีกรรมสิทธิ์ – ใช้ประโยชน์จากที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ เช่น มีโฉนดถูกต้อง และมีตราจองว่า “ได้ทำประโยชน์แล้ว”
  7. ครอบครองเป็นระยะเวลาติดต่อกัน – ครอบครองอสังหาฯ เป็นระยะเวลา 10 ปี และสังหาฯ ระยะเวลา 5 ปี *หากเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ให้บุคคลอื่นก่อนระยะเวลาที่กำหนดต้องเริ่มนับใหม่
  8. ร้องศาล – ยื่นคำร้องต่อศาล โดยคำพิพากษาให้ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยการครอบครองปรปักษ์
  9. ร้องที่ดิน – ยื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่พนักงานที่ดิน และจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ (กรณีอสังหาฯ)

เรียบเรียงโดย Homezoomer

 

เว็บไซต์ ประกาศ ซื้อ ขาย บ้าน มือ1 มือ2 :  Hubzoomer.com

ติดตามข่าวสาร รีวิวบ้านและคอนโด สาระน่ารู้ : Homezoomer