ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
โครงสร้างระบบไฟฟ้า แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ สายไฟฟ้าเก่า หรือสายไฟหมดอายุการใช้งาน สังเกตได้จากฉนวนจะแตก หรือแห้งกรอบบวม ฉนวนสายไฟชำรุดอาจเกิดจากหนูหรือแมลงกัดแทะ หรือวางของ หนักทับ เดินสายไฟใกล้แหล่งความร้อน ถูกของมีคมบาด จุดต่อสายไฟจะต้องแน่น ผิว หน้าหรือสายเคลือบพีวีซีจะต้องไม่ฉีกขาด พันฉนวนให้เรียบร้อยตามขนาดของสายไฟ ฟ้า การเลือกใช้ขนาดของสายไฟฟ้าต้องมีความเหมาะสมกับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ ไหลในสาย หรือให้เหมาะสมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในวงจรหรือในองค์กรนั้นๆ สายไฟ ฟ้าต้องไม่เดินอยู่ใกล้แหล่งความร้อน สารเคมี หรือถูกของหนักทับ เพราะทำให้ฉนวน ชำรุดได้ง่าย และเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้ อีกทั้งสายไฟฟ้าที่ระโยงระยางจะต้องไม่พาดบนโครงเหล็ก รั้วเหล็ก-ราวเหล็ก หรือส่วนที่เป็นโลหะ มิฉะนั้นต้องเดินสายไฟฟ้า โดยใช้พุกประกบ หรือร้อยท่อให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วลงบนโครงโลหะ ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายได้ กรณีที่เกิดไฟรั่วหรือสายไฟชำรุด การเดินสายไฟฟ้าและการเฝ้าระวังสายไฟฟ้าชำรุด และองค์ประกอบ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก็ไม่ควรละเลย โดยเฉพาะเต้ารับ เต้าเสียบ ปลั๊กไฟฟ้าต้องไม่แตกร้าว และไม่มีรอยไหม้ การต่อสายที่เต้ารับและเต้าเสียบต้องให้แน่น และใช้ขนาดสายให้ถูก ต้อง เมื่อเสียบสายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่เต้าเสียบนั้นเต้ารับต้องแน่น ติดตั้งในที่ แห้ง ไม่เปียกชื้น หรือมีน้ำท่วม และควรติดให้พ้นมือเด็ก แผงสวิตซ์ไฟฟ้า ต้องติดตั้งในที่แห้ง ไม่เปียกชื้นและสูงพอสมควร ห่างไกล จากสารเคมีและสารไวไฟต่างๆ ควรมีการตรวจสอบดูว่ามีมด แมลงเข้าไปทำรังอยู่หรือ ไม่ หากพบว่ามี ให้ดำเนินการกำจัด อย่าวางสิ่งกีดขวางบริเวณแผงสวิตซ์ ควรมีผังวงจร ไฟฟ้าโดยสังเขปติดอยู่ที่แผงสวิตซ์ที่เป็นตู้โลหะควรทำการต่อสายลงดิน การใช้สวิตซ์ตัดตอนชนิดคัตเอาต์ ก็มีความจำเป็นอย่างมาก กรณีที่อาคาร สำนักงานมีการซ่อมไฟฟ้าในบางส่วนของพื้นที่ ตัวอาคาร หากอาคารสำนักงานมีคัต เอาต์ รวมเพียงตัวเดียว โดยไม่กระจายคัตเอาต์ย่อย การซ่อมแซมไฟฟ้าแต่ละจุดก็จะ ลำบาก เพราะต้องปิดระบบไฟฟ้าทั้งอาคาร ฉะนั้นการเลือกคัตเอาต์จะต้องเหมาะสมกับพื้นที่ตัวอาคารและปริมาณไฟฟ้า แต่ละจุด ที่คัดเอาต์จะต้องเหมาะสมกับพื้นที่อาคาร และปริมาณไฟฟ้าแต่ละจุดที่คัตเอาต์ สามารถรองรับได้ การเลือกซื้อคัตเอาต์ และฝาครอบจะต้องไม่แตก ลักษณะภายในจะ ต้องใส่ฟิวส์ให้ถูกขนาดและมีฝาครอบปิดให้มิดชิด ห้ามใช้วัสดุอื่นใส่แทนฟิวส์ ขั่วต่อ สายที่คัตเอาต์เมื่อสับใช้งานต้องแน่น โดยเฉพาะในช่วงฤดูผน จะต้องมีการตรวจสอบโครงสร้างระบบไฟฟ้าให้รัดกุมมากยิ่ง ขึ้น ทั้งโครงสร้างของหลังคา พื้นผนัง หากมีจุดใดรั่วจะต้องรีบแก้ไขหรือซ่อมแซมให้เป็น ปกติมิฉะนั้นเมื่อฝนตก อาจมีน้ำซึมเข้ามาทำลายระบบต่างๆ ภายในอาคารสำนักงาน ได้เช่นกัน เพราะนอกเหนือจากกระบบโครงสร้างไฟฟ้าดังกล่าวข้างต้น ทั้งสายไฟ แผง สวิตซ์ไฟ คัตเอาต์แล้ว เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในอาคารสำนักงานก็มีความสำคัญเช่นเดียว กัน เพราะอาจก่อให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย ยกตัวอย่าง เครื่องปรับอากาศ ในหน้าร้อนทุกคนต้องการใช้เครื่องปรับอากาศ แต่เมื่อ เข้าฤดูฝนและหน้าหนาว เครื่องปรับอากาศมักจะไม่มีใครใช้งาน ซึ่งในการตรวจสอบ เครื่องปรับอากาศสามารถทำได้ง่าย เพราะเข้าไปจับต้องได้ว่า มีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ โดยใช้ไขควงเซ็กไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้ดำเนินการซ่อมแซม โดยเฉพาะสาย ไฟฟ้าที่ใช้ต่อเข้าเครื่องปรับอากาศ ต้องใช้ขนาดที่ถูกต้องตามพิกัดการใช้งานของเครื่อง ปรับอากาศ จุดต่อสายและจุดเข้าปลายสายทุกจุด ต้องทำให้แน่นและปิดฝาครอบหรือ พันฉนวนให้เรียบร้อย เครื่องปรับอากาศต้องไม่ติดตั้งใกล้สารหรือวัตถุไวไฟ ขณะใช้งานเครื่องปรับอากาศมีเสียงดังมากผิดปกติ ควรให้ช่างตรวจสอบและแก้ไข และไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศทิ้งไว้เมื่อไม่มีใครอยู่ในอาคารสำนักงานแล้ว สิ่งเล็กน้อยเหล่านี้หากไม่ใส่ใจการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าให้ถูกวิธี หรือไม่รีบแก้ไขเมื่อชำรุด เสียหาย อาจจะทำลายและเป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของท่านได้
ขอบคุณข้อมูลจาก Thaihomemaster
เว็บไซต์ ประกาศ ซื้อ ขาย บ้าน มือ1 มือ2 : Hubzoomer.com
ติดตามข่าวสาร รีวิวบ้านและคอนโด สาระน่ารู้ : Homezoomer