รับมืออย่างไรกับบ้านหลังแรก

รับมืออย่างไรกับบ้านหลังแรก

รับมืออย่างไรกับบ้านหลังแรก

รับมืออย่างไรกับบ้านหลังแรก

การมีบ้านหลังแรกไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ว่าจะสำหรับใครก็ตาม การซื้อบ้านของตัวเองคือคำตอบที่ใช่แล้วหรือไม่ และมีอะไรที่คุณต้องคำนึงถึงบ้างในการซื้อของชิ้นใหญ่ขนาดนี้เรามีคำแนะนำเล็กๆน้อยๆมาฝากกัน

บทบาทใหม่ของชีวิต: การมีบ้านหลังแรก คือการเปลี่ยนบทบาทใหม่ในชีวิต ในที่นี้อาจรวมถึงการแยกออกมาอยู่เอง หรือแต่งงานเพื่อสร้างครอบครัวใหม่คุณต้องวางแผนความมั่นคงให้กับคู่ชีวิตและเจ้าตัวน้อยที่กำลังจะเกิดมา

ลงหลักปักฐาน: ถ้าคุณมีแผนจะย้ายที่อยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเพราะเปลี่ยนงานหรือแค่อยากหาอะไรใหม่ๆ ในชีวิต การเช่าน่าจะเป็นคำตอบที่ดีกว่า

มั่นคงและปลอดภัย: การมีบ้านของตัวเอง ให้ความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัยและดีต่อใจอย่างมาก นอกจากความรู้สึกผ่อนคลายแล้ว การมีบ้านของตนเองสามารถรับประกันได้ว่าคุณจะไม่ต้องเผชิญสถานการณ์อย่าง การโดนเจ้าบ้านไล่ที่ หรือการแกล้งขึ้นค่าเช่าโดยไม่เป็นธรรม

ผ่อนบ้านลดภาษี: สิ่งหนึ่งที่คุณต้องระลึกไว้เสมอ โดยเฉพาะเหล่ามนุษย์เงินเดือนทั้งหลายคือ ค่าผ่อนบ้านของคุณนั้นสามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแต่ละปีได้ โดยประมวลรัษฎากรกำหนดให้ผู้มีเงินได้มีสิทธิในการหักลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยที่ชำระไปเพื่อการผ่อนบ้าน โดยให้ลดหย่อนสูงสุดถึงปีละ 100,000 บาท

ที่กล่าวมานี้เป็นการชี้แนะแนวทางสำหรับการมีบ้านหลังแรกเผื่อจะช่วยในการตัดสินใจมีบ้านหลังแรกของคุณ นอกจากจะมีบ้านหลังแรกแล้วการที่คุณจะวางแผนอนาคตไว้ให้บุตรหลานก็สำคัญเช่นเดียวกัน เราขอหยิบยกประเด็นและวิธีการรับมือกับค่าเทอมที่สูงลิบลิ่วมาฝากกันเพิ่มเติมอีกด้วย ท่ามกลางการแข่งขันในปัจจุบัน ค่านิยมของสิ่งแวดล้อม ภาพลักษณ์และทัศนติ ทุกสิ่งคือปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสถาบันการศึกษาของผู้ปกครองให้แก่บุตรหลาน ความคิดที่เด่นชัดและหยั่งลึกปลูกฝังมาแต่ยุคเก่าก่อนนั่นคือ การที่บุตรหลานของตนต้องได้สิ่งที่ดีที่สุด นั่นหมายถึง การเลือกสถาบันการศึกษา โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย ต้องโดดเด่นมีชื่อเสียง ถึงขนาดที่ว่าต่อให้ต้องทุ่มทุนมากแค่ไหน ย่อมได้เสมอเพื่อให้ได้สิ่งเหล่านั้นมาครอบครอง

 

แต่การจะได้มาในสิ่งที่เป็นผลลัพธ์ของความสำเร็จนั้นต้องแลกด้วยอะไรบ้าง?

แลกด้วยค่าใช้จ่ายในการแข่งขันที่สูงลิบลิ่ว : ยิ่งถ้าเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงติดอันดับอัตราการแข่งขันสูงตัวเงินที่ต้องจ่ายยิ่งเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย มีผู้ปกครองไม่น้อยที่พ่ายแพ้ในข้อแรกไปด้วยเหตุผลที่ว่า “ต้องจ่าย” เกินกำลัง

แลกด้วยความกดดันจากทุกฝ่าย : ไม่ว่าจะเป็นตัวของผู้ปกครองเอง ตัวสถาบันการศึกษา หรือแม้แต่บุตรหลานของท่านที่ต้องเป็นความคาดหวังของใครหลายคน

แล้วสิ่งที่ต้องแลก…มันคุ้มค่ากับสิ่งที่จะได้รับหรือไม่ ถ้าหากมีคำตอบอยู่ในใจแล้วว่าคุ้มค่าแก่การลงทุน เรามีวิธีที่จะช่วยวางแผนในการเก็บเงินค่าเล่าเรียนของลูกหลานมาฝากกันเผื่อจะเป็นตัวช่วยเล็กๆน้อยแก่ผู้ปกครองดังนี้

เลือกสถาบันเป้าหมาย : ซึ่งแต่ละโรงเรียนหรือแต่ละสถาบันมีค่าใช้จ่ายแตกต่างกันทั้งรัฐ เอกชนและต่างประเทศ ถ้าไม่เคยมีแผนคร่าวๆไว้ว่าจะให้บุตรหลานเรียนที่ไหน ก็จะไม่รู้ว่าควรเก็บเงินเท่าไหร่ แม้ว่าในอนาคตบุตรหลานอาจจะไม่ได้เรียนในสถาบันที่เราตั้งใจไว้ แต่อย่างน้อยเราก็มีเงินเตรียมไว้ให้พร้อมแล้ว ถ้าสถาบันไหนมีค่าเล่าเรียนมากกว่าเงินที่เตรียมไว้ เราจะได้วางแผนว่าวันนี้จะต้องเก็บเงินเพิ่มอีกเท่าไหร่ แต่ถ้าต้องใช้เงินน้อยกว่าที่เตรียมไว้ก็จะมีเงินเหลือไปสนับสนุนบุตรหลานทางด้านอื่นมากขึ้น นี่แหละข้อดีของการเตรียมการวางแผนไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ

สรุปยอดเงินค่าเล่าเรียนทั้งหมด : “การมีเป้าหมายที่ชัดเจน การกระทำของเราก็จะชัดเจน” วลีนี้ใช้ได้กับทุกเรื่องจริงๆ การเก็บเงินค่าเล่าเรียนก็เช่นกัน ถ้าเราไม่เคยรู้ว่าจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายค่าเล่าเรียนทั้งหมดเท่าไหร่ ตอนนี้ก็จะเก็บเงินไปเรื่อยๆโดยไม่มีเป้าหมาย ไม่รู้ว่าควรนำเงินไปลงทุนเท่าไหร่เพื่อจะให้ไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น เราต้องตั้งเป้าหมายก่อน เช่น ค่าเล่าเรียนเราควรหาข้อมูลเพื่อจะได้รู้ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลง แต่อย่าลืมว่าสิ่งที่ต้องคำนึงคือ “ช่วงเวลาที่แตกต่างกัน มูลค่าของเงินก็แตกต่างกันไปด้วย” ทั้งหมดนี้เป็นพราะเงินเฟ้อที่ทำให้ค่าของเงินลดลงเรื่อยๆ เช่น ปี 2510 เงิน 50 สตางค์ ซื้อข้าวผัดได้ 1 จาน แต่ตอนนี้จะต้องใช้เงิน 30 – 60 บาท กว่าจะซื้อข้าวผัดได้ 1 จาน เรียกง่ายๆว่า ซื้อของได้เท่าเดิม แต่ต้องใช้เงินมากกว่าเดิม ค่าเล่าเรียนนั้นก็เช่นกัน ปัจจุบันมีเครื่องมือที่เป็นตัวช่วยอัจฉริยะมาในรูปแบบของแอปพลิเคชั่นสามารถช่วยคำนวณค่าใช้จ่ายในเบื้องต้นได้ นั่นคือแอปที่ชื่อว่า Ez calculators(เครื่องคิดเลขทางการเงิน) ถูกพัฒนาขึ้นเป็นฟรีดาวน์โหลดสามารถใช้คำนวณและทุ่นแรงเราได้แบบง่ายๆ

techjeny.org

 

เลือกแนวทางการเก็บรักษาเงิน : เมื่อรู้เป้าหมายค่าใช้จ่ายแล้วเราจะสามารถแบ่งช่วงเวลาในการเก็บเงินได้ โดยควรเก็บเงินไว้ที่ที่มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อให้เงินต้นปลอดภัย เช่น ฝากประจำ เงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง สลากออมสิน สลาก ธกส. กองทุนรวมตลาดเงิน เป็นต้น หรือถ้าเป็นการเก็บเงินระยะยาว มีเวลามากพอที่เก็บไว้ในที่ทีมีความเสี่ยงสูงขึ้น หวังรับผลตอบแทนที่มากขึ้น ก็เก็บเป็นกองทุนรวมผสม กองทุนรวมหุ้น ในขณะที่บางคนใช้ประโยชน์จาก LTF (ขายได้ทุก 7 ปี) เพื่อลดหย่อนภาษีและเก็บเป็นเงินค่าเล่าเรียนของบุตรหลาน

แต่ทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงเป็นธรรมดาโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ และไม่มีใครรู้ว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง แต่เมื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นก็ต้องมีสติ ทำใจยอมรับ การเตรียมและวางแผนไว้แต่เนิ่นๆจึงไม่เป็นสิ่งเสียหายที่เราจะเตรียมการคำนวณไว้เพื่อคนที่เรารักอย่างบุตรหลานของเรานั่นเอง

เรียบเรียงโดย

Homezoomer

รูปภาพ

Play.google.com

Homezoomer

อ้างอิง

https://aommoney.com/stories/news

https://www.wealthmagik.com/FundInfo/TopReturn.aspx

http://www.fncalculator.com/

เว็บไซต์ ประกาศ ซื้อ ขาย บ้าน มือ1 มือ2 : Hubzoomer.com

ติดตามข่าวสาร รีวิวบ้านและคอนโด สาระน่ารู้ : Homezoomer