รถไฟฟ้าสายสีทอง

รถไฟฟ้าสายสีทอง

โครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายสีทอง (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน-ประชาธิปก)

โครงการระบบขนส่งมวลชนรองบนพื้นที่ฝั่งธนบุรี รถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีทอง ในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางบนถนนเจริญนคร และเป็นการเชื่อมต่อเข้ากับศูนย์การค้าไอคอนสยาม ดำเนินการโดย กรุงเทพมหานคร และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ดำเนินการในรูปแบบรถไฟฟ้าล้อยาง

และมีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีต้น จากสถานีรถไฟฟ้า BTSกรุงธนบุรี วิ่งไปตามถนนกรุงธนบุรี เลี้ยงเข้าถนนเจริญนคร ผ่านศูนย์การค้าไอคอนสยาม สำนักงานเขตคลองสาน สิ้นสุดในระยะแรกที่บริเวณแยกสมเด็จเจ้าพระยา-ประชาธิปก รวมระยะทาง 2.8 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 4 สถานี โดยแยกโครงการนี้แบ่งเป็น 2 เฟส คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 50,000 เที่ยวต่อวันเมื่อเปิดทำการ

โดยจะดำเนินการในรูปแบบของรถไฟฟ้าล้อยาง​ (APM: Automated People Mover) แบบเดียวกับที่ใช้ในสนามบิน มีระยะทางในระยะแรก 1.7 กิโลเมตร โดยจะเริ่มก่อสร้างในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 และคาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี พ.ศ. 2562

รถไฟฟ้าสายสีทอง

4 สถานี

1.กรุงธนบุรี

จุดเปลี่ยนเส้นทาง     รถไฟฟ้าบีทีเอส  สายสีเขียว ส่วนต่อขยายจากสถานีกรุงธนบุรี โดยแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก บนเกาะกลางถนนกรุงธนบุรี แล้วเลี้ยวซ้ายบริเวณปลายสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เข้าสู่ถนนเจริญนคร

2.เจริญนคร

สถานีเจริญนคร ตั้งอยู่บริเวณสะพานข้ามคลองวัดทองเพลง มุ่งหน้าไปยังแยกคลองสาน เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนสมเด็จเจ้าพระยา โดยแนวเส้นทางจะเบี่ยงไปอยู่เหนือแนวทางเดินเท้าด้านซ้ายฝั่งคลองสมเด็จเจ้าพระยา

3.สถานีคลองสาน

ตั้งอยู่บริเวณเยื้องกับโรงพยาบาลตากสิน โดยมีทางเดิน (Sky walk) เพื่อให้สามารถเดินทางเข้าสู่โรงพยาบาลตากสินได้โดยตรง และในอนาคตสถานีคลองสาน (G3) จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย

4.ประชาธิปก

ตั้งอยู่บริเวณ ซอยสมเด็จเจ้าพระยา 6 กับ ซอยสมเด็จเจ้าพระยา 8 ซึ่งในอนาคตจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ

 

เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายอื่น 3 สถานี

1.เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่สถานีกรุงธน

2.เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่สถานีคลองสาน

3.เชื่อมต่อกับสายสีม่วง ที่สถานีประชาธิปก

 

แนวเส้นทาง

ช่วงที่ 1 เป็นเส้นทางยกระดับความสูง 14-17 เมตรจากระดับดินไปตามแนวถนน เริ่มต้นจากสถานีกรุงธนบุรี ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม เบี่ยงเข้าถนนกรุงธนบุรีทางซ้ายบริเวณปลายสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เพื่อเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจริญนคร ผ่านวัดสุวรรณาราม ศูนย์การค้าไอคอนสยาม สำนักงานเขตคลองสาน ข้ามทางรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านโรงพยาบาลตากสิน สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนจันทรวิทยา วัดอนงคารามวรวิหาร และวัดพิชยญาติการามวรวิหาร สิ้นสุดบริเวณแยกสมเด็จเจ้าพระยา-ประชาธิปก บริเวณด้านหลังอนุสรณ์สถานสมโภช 100 ปี เขตคลองสาน

ช่วงที่ 2 : สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สำเหร่ – สถานีรถไฟฟ้ามหานคร อิสรภาพ

เป็นเส้นทางยกระดับความสูง 14-17 เมตรจากระดับดินไปตามแนวถนน เริ่มต้นจากจุดสิ้นสุดสถานีสะพานพุทธ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนประชาธิปก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ที่สถานีสะพานพุทธ (สำเหร่) แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนอิสรภาพ ผ่านบิ๊กซี อิสรภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา แล้วสิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีอิสรภาพ ของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

ช่วงที่ 3 : สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี

เป็นเส้นทางยกระดับความสูง 14-17 เมตรจากระดับดินไปตามแนวถนน เริ่มต้นจากสถานีกรุงธนบุรี ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม เบี่ยงเข้าถนนกรุงธนบุรีทางขวาบริเวณปลายสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เพื่อเลี้ยวขวาเข้าถนนเจริญนคร ผ่านวัดเศวตฉัตรวรวิหาร สมาคมตระกูลลิ้มแห่งประเทศไทย และสิ้นสุดบริเวณซอยเจริญนคร 60

 

รูปแบบของโครงการ

เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดรอง Feeder ยกระดับตลาดเส้นทาง มีความปลอดภัยสูงไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อม ใช้ระบบรถไฟฟ้าล้อยาง (automated people mover transit) ที่ควบคุมการเดินรถด้วยระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบไฟฟ้า โดยโครงการได้เลือกใช้ขบวนรถรุ่น Innovia APM 300 จากบอมบาร์ดิเอร์ จำนวน 2 ขบวน ขบวนละ 3 คัน 1 ตู้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 80-100 คนหรือขนส่งผู้โดยสารได้ 4,000-1.2 หมื่นคนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ซึ่ง 1 ขบวนสามารถต่อพ่วงได้ 6 ตู้ โดยการออกแบบโครงสร้างให้ใช้ผิวการจราจรน้อยที่สุด เพื่อลดปัญหาการจราจรบริเวณถนนเจริญนครและถนนกรุงธนบุรี

*ทางวิ่ง ยกระดับที่ความสูง 14-17 เมตรตลอดทั้งโครงการ

*มีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ

*ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.6 เมตร ยาว 12 เมตร สูง 3.7 เมตร ความจุ 103 คนต่อคัน (309 คนต่อขบวน) ต่อพวงได้ 3 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 4,300 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง

*ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถที่สถานีกรุงธนบุรี และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ

 

จุดจอดแล้วจร (park and ride)

ที่สถานีต้นทาง (กรุงธนบุรี)

 

CR. realist | wikipedia | estopolis| ananda | prbangkok