สีผังเมือง กรุงเทพ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ สีผังเมือง กรุงเทพฯ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับผังเมือง

องค์ประกอบของเมืองจะเกิดขึ้นได้นั้น จำเป็นต้องมีการจัดระเบียบ เพื่อให้มีขอบเขตของการกำหนดใช้ที่ดินให้กับพื้นที่ในเขตต่างๆ โดยจะระบุประเภทการก่อสร้างว่าสามารถสร้างอาคารใหญ่ และสูงได้เท่าไหร่ โดยในแต่ละพื้นที่ก็จะกำหนดประเภทของที่ดินว่าใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสิ่งใด โดยจะแบ่งออกเป็นโซนสีต่างๆื ซึ่งแต่ละสีจะระบุข้อบังคับแตกต่างกันไป “ผังเมือง”  คือ กฎหมายเขียนขึ้นเพื่อเป็นตัวกำหนดควบคุมพื้นที่ การทำ จัดวาง หรือดำเนินการให้เป็นไปตามผังเมืองรวม และผังเมืองเฉพาะ ในบริเวณเมือง, บริเวณที่เกี่ยวข้อง หรือชนบท เพื่อเป็นการกำหนดแนวทางการวางผังเมืองในอนาคต  การใช้ประโยชน์ในทรัพทย์สิน การคมนาคมขนส่ง การสาธารณูปโภค และการบริการสาธารณะอื่น ๆ โดยแนวทางที่จะเกิดขึ้นต้องคำนึงถึง ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การใช้ประโยชน์ พื้นที่ใช้สอยโดยรวมของประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา และผลเสียต่างๆที่จะกระทบ และและสภาพแวดล้อม

สีผังเมือง กรุงเทพ

 

โซนสีผังเมือง  ๑0 ประเภท กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน แสดงสีของที่ดิน โดยจะระบุขอบเขตของสีต่างๆ

สีผังเมือง กรุงเทพ

ขอบคุณรูปจาก http://asa.or.th

๑. เขตสีเหลือง :ย.๑ – ย.๔ ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการพักอาศัย, สถาบันราชการ หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น โดยเขตสีเหลืองส่วนมากมักอยู่นอกเมือง หรือพื้นที่ชนบท

เขตที่สีส้ม : ย.๕ – ย.๗ ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง คือประเภทที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นปานกลาง ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นที่อยู่อาศัย, สถาบันราชการ หรือสาธารณประโยชน์ โดยพื้นที่เขตสีส้มนี้ จะมีผู้พักอาศัยมากกว่าพื้นที่สีเหลือง

เขตสีน้ำตาล : ย.๘ – ย.๑0 ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก  ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นที่อยู่อาศัย, สถาบันราชการ หรือสาธารณประโยชน์เป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้เพื่อกิจการอื่นให้ใช้ที่ดินได้ไม่เกินร้อยละสิบ

๔.เขตสีแดง : พ.๑ – พ.๕ ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม  เพื่อประโยชน์ทางพาณิชยกรรม การอยู่อาศัย สถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และการสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละสิบของที่ดิน และห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการตามที่กำหนด ส่วนมากจะอยู่ตามเมืองใหญ่ ๆ การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละสิบ และห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการตามที่กำหนด

๕. เขตสีม่วง : อ.๑ – อ.๒ ที่ดินประเภทประเภทอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

ที่ดินประเภท อ.1 : กำหนดเป็นเขตอุตสาหกรรม เพื่อการบริหาร และจัดการสิ่งแวดล้อม สำหรับการประกอบกิจการประเภทอุตสาหกรรมการผลิตที่มีมลพิษน้อย

ที่ดินประเภท อ.2: กำหนดเป็นนิคมอุตสาหกรรม ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรม ที่ดินประเภทนี้ให้ใช้ประโยชน์อุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละสิบ และห้ามใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อกิจการตามที่กำหนด

๖. เขตสีเม็ดมะปราง :อ.๓ ที่ดินประเภทคลังสินค้า ให้ใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อคลังสินค้า อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการบรรจุสินค้า อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ โดยไม่มีการผลิต และอุตสาหกรรมบริการชุมชน ที่ไม่เกิดเหตุรำคาญ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละสิบ และห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการตามที่กำหนด

๗. เขตสีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว : ก.๑  – ก.๓ ที่ดินประเภท อนุรักษ์ชนบท และเกษตรกรรม  ให้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรม หรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม สถาบันราชการ การสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การอนุรักษ์ และรักษาสภาพแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละห้า และร้อยละสิบ และห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการตามที่กำหนด

.เขตสีเขียว :ก.๔ – ก.๕ ที่ดินประเภท ชนบท และเกษตรกรรม  ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม สถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อกิจการอื่น ให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละห้า และร้อยละสิบ และห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการตามที่กำหนด

๙. เขตสีน้ำตาลอ่อน :ศ.๑ – ศ.๒ ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย ให้ใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อการส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรม ท้องถิ่น การท่องเที่ยว พาณิชยกรรม การอยู่อาศัย สถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่

๑0. เขตสีน้ำเงิน :ส. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ  ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสถาบันราชการ การศาสนา การศึกษา การสาธารณูปโภค และการสาธารณูปการ หรือสาธารณประโยชน์ การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ให้ใช้ได้เฉพาะที่จำเป็น หรือเกี่ยวเนื่องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินหลัก

เขตสีม่วงอ่อน : ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ

เขตสีเขียวมะกอก : ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา

เขตสีเทา : ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา

ตารางสรุปข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร

ตัวกฎหมายจะอธิบายถึงความหมายต่าง ๆ ประเภทของที่ดินแบ่งเป็นกี่ประเภท สีอะไรบ้าง  รหัสตัวอักษร รวมไปถึงข้อห้ามต่างๆ

สีผังเมือง กรุงเทพ

สรุปคือ 

“การผังเมือง คืออะไร มีประโยช์อย่างไร และประชาชนควรมีส่วนร่วมอย่างไร

ตอบ :

การผังเมือง หมายความว่า การวาง จัดทำและดำเนินการให้เป็นไปตามผังเมืองรวมและ ผังเมืองเฉพาะในบริเวณเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาเมืองในอนาคต และการกำหนดแนวทางดังกล่าวยังต้องคำนึงถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสวยงาม การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน ความปลอดภัย สวัสดิภาพของสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการดำรงรักษาหรือบูรณะสถานที่ที่มีคุณค่าทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีอีกด้วย

การวางผังเมืองมีประโยชน์

1. ทำให้เมืองหรือชุมชนมีความสวยงามเจริญเติบโตอย่างมีระเบียบแบบแผนและถูกสุขลักษณะ
2. เพื่อวางแนวทางการพัฒนาเมืองหรือชุมชนให้มีระเบียบ โดยวางผังโครงการคมนาคมและขนส่งให้สัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคต
3. ทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยในการอยู่อาศัย
4. ส่งเสริมเศรษฐกิจของเมืองหรือชุมชน
5. ส่งเสริมสภาพแวดล้อมของเมืองหรือชุมชนให้มีที่โล่งเว้นว่าง มีสวนสาธารณะ มีที่พักผ่อนหย่อนใจ
6. ดำรงรักษาสถานที่ที่มีคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมประวัติศาสตร์และโบราณคดี
7. บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและภูมิประเทศที่งดงามทั้งในเขตเมืองและชนบท

ประชาชนควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับผังเมือง

ผังเมืองเป็นเครื่องช่วยสนับสนุนให้รัฐและเอกชนบรรลุวัตถุประสงค์ต่างๆ ในการพัฒนาเมืองร่วมกัน ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนร่วมในการทำให้เป้าหมายต่างๆ กลายเป็นจริงขึ้นมา ได้แก่การสนับสนุนทางด้านงบประมาณและการที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการวางผังเมืองนั้น แต่เนื่องจากขั้นตอนในการวางผังเมืองมีความสลับซับซ้อน จึงต้องใช้เวลานานในการดำเนินการตั้งแต่ต้นจนจบ กฏหมายได้กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ดังนี้

1. เมื่อจะมีการวางผังเมืองรวม ณ ท้องที่ใดตามกฏหมายระบุให้ต้องมีการปิดประกาศเพื่อแจ้งให้ประชาชนได้ทราบว่า จะมีการวางและจัดทำผังเมือง ณ ท้องที่นั้น ประชาชนในท้องที่ ดังกล่าวสามารถมีส่วนร่วมในการดำเนินการได้ โดยการให้ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการวางและจัดทำผัง ขั้นตอนนี้พอจะเปรียบเทียบกับงานออกแบบบ้านได้ว่าประชาชนในท้องที่ที่จะวางผังก็คือ เจ้าของบ้านหรือผู้ใช้อาคาร ซึ่งควรจะชี้แจงความต้องการต่างๆ ของข้อมูลสมาชิกในครอบครัวให้สถาปนิกทราบ เพื่อจะได้เป็นแนวนโยบายในการออกแบบให้ถูกวัตถุประสงค์ในการใช้สอยอาคารของเจ้าของนั้นเอง

2. ในระหว่างการวางผัง ซึ่งจะต้องมีการสำรวจเก็บข้อมูล วิเคราะห์ วิจัย เจ้าหน้าที่ผู้วางผังจะเข้าพบคณะที่ปรึกษาผังเมืองรวม ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานประกอบด้วยผู้แทนองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นผู้แทนส่วนราชการต่างๆ และบุคคลอื่นๆ ซึ่งถือว่าคือส่วนหนึ่งของตัวแทนประชาชน เพื่อขอทราบแนวนโยบายและความต้องการของท้องถิ่น เมื่อวางผังเบื้องต้นเสร็จแล้วก็จะต้องนำผังนั้นไปปิดประกาศและประชุมรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชนไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการดำเนินการช่วงนี้ได้โดยการเข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังและแสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติม ผู้วางผังก็จะนำความคิดเห็นและความต้องการต่างๆ นั้นไปประมวลกับหลักวิชาการเพื่อพิจารณาจัดวางผังเมืองให้เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นและความต้องการของชุมชนนั้นๆ

3. เมื่อวางผังเสร็จสมบูรณ์แล้วก็จะนำผังเสนอให้คณะกรรมการผังเมือง ซึ่งมีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานพิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อผังได้รับความเห็นชอบแล้ว จะต้องนำผังไปปิดประกาศในท้องที่ที่ทำการวางผังเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน เพื่อให้ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไปตรวจดูแผนผังและข้อกำหนดของผัง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารร้องขอให้แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินของผังเมืองนั้นๆ โดยทำเป็นหนังสือถึงกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้วางและจัดทำผังนั้น”

ที่มา : กรมโยธาธิการและผังเมือง

 

คนที่อยู่ในเมืองที่มีการจัดระบบที่ดีจะทำให้คุณภาพชีวิตผู้อยู่อาศัยในเมืองนั้นดีขึ้นตามไปด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก  www.dpt.go.th

Homezoomer

 

เว็บไซต์ ประกาศ ซื้อ ขาย บ้าน มือ1 มือ2 : Hubzoomer.com

ติดตามข่าวสาร รีวิวบ้านและคอนโด สาระน่ารู้ : Homezoomer