ขั้นตอนการกู้-โอน บ้านและคอนโด

ขั้นตอนการกู้-โอน บ้านและคอนโด

ขั้นตอนการกู้-โอน บ้านและคอนโด

สำหรับผู้ที่สนใจจะซื้อบ้านดีๆ สักหลัง ไม่ว่าจะเพื่อการลงทุนหรือเพื่ออยู่อาศัย และต้องการขอยื่นกู้ซื้อบ้าน แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นหรือเตรียมตัวอย่างไร วันนี้ Homezoomer มีขั้นตอนการขอสินเชื่อมาฝากครับ ซึ่งในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินแต่ละแห่งนั้น อาจมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือต้องมี “เครดิตดี” ไม่ติดบัญชีดำ เครดิตบูโร หรือประวัติเสียนั่นเองครับ

และอีกส่วนที่สำคัญที่จะทำให้พิจาณณยื่นกู้ง่าย นั่น คือ “เงินออม”เงินออมครับเงินออม เพราะตามปกติแล้วสถาบันการเงินจะปล่อยสินเชื่อสูงสุดเพียงแค่ 70-90% เท่านั้น ส่วนที่เหลือ นั่นคือเงินออมที่ผู้ซื้อต้องจ่ายในการซื้อบ้าน รวมถึงยิ่งมีหลักประกันต่างๆ ยิ่งอนุมัติง่ายเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นโฉนดที่ดิน รถยนต์ ตั๋วทองคำ เงินฝากธนาคาร ฯลฯ สำหรับขั้นตอนการยื่นกู้ขอสินเชื่อมีขั้นตอนดังนี้

เตรียมเอกสารยื่นกู้ซื้อบ้าน กรณีผู้มีรายได้ประจำ

– บัตรประจำตัวประชาชน (สำเนา)
– ทะเบียนบ้านฉบับจริง (บางสถาบันการเงินขอถ่ายจากสำเนาต้นฉบับ)
– หนังสือรับรองการเงิน
– สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน
– รายการเดินบัญชีย้อนหลังธนาคาร 6 เดือน
– ทะเบียนสมรส (สำเนา)
– รายการบัญชีเงินฝาก หรือเอกสารหลักประกันอื่นๆ เพื่อประกอบการพิจารณา (สำเนา)

เตรียมเอกสารยื่นกู้กรณีประกอบอาชีพอิสระ

– บัตรประจำตัวประชาชน (สำเนา)
– ทะเบียนบ้านฉบับจริง (บางสถาบันการเงินขอถ่ายจากสำเนาต้นฉบับ)
– สำเนาทะเบียนการค้า หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
– สมุดบัญชีเงินฝาก พร้อมรายการเดินบัญชีย้อนหลังธนาคาร 6 เดือน
– หลังฐานรายได้ทรัพย์สินอื่น ๆที่เป็นหลักประกันหลักทรัพย์ (โฉนดที่ดิน,ตั๋วแลกเงิน ฯลฯ)
– แผนที่แสดงทำเลที่ทำการค้า
– สำเนาสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญามัดจำ

ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ ทางสถาบันการเงินจะส่งข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรายรับ รายจ่าย เพื่อเช็คเครดิตบูโรที่ สำนักงานเครดิตแห่งชาติ National Credit Bureau(NCB) ประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่อไม่ติด Black Lish จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาประเมินราคาบ้าน สถาบันการเงินจะนัดวัดล่วงหน้าอีกที เพื่อถ่ายรูปและประเมินราคา ในส่วนค่าประเมินบ้านผู้ซื้อจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการประเมิน 1500-3000 บาท
ไม่เกิน 1 สัปดาห์ จะได้ราคาประเมินที่อนุมัติออกมา ซึ่งสถาบันการเงินจะคิดราคาที่ต่ำที่สุดของราคาประเมินและราคาขาย เช่น ปล่อยกู้90% ราคาขายจริง 3,000,000
90% ของ 3,000,000 คือ 2,700,000
เขียนเกินราคาจริง ขายไป 3.3 ล้าน ทำให้กูได้ 90% ของ 3.3 ล้าน คือ(2,970,000)
เราต้องหาเงินส่วนต่างมาจ่ายอีก 30,000บาท เพื่อจ่ายให้กับโครงการหรือผู้ขาย และนัดวันโอนกรรมสิทธิ์

วันโอนกรรมสิทธิ์

ผู้ซื้อและผู้ขาย และเจ้าหน้าที่ธนาคารมาเจอกันที่สำนักงานที่ดินที่ทำการซื้อขาย และทำสัญญาต่อเจ้าหน้าที่เพื่อทำการไถ่ถอน สถาบันการเงินจะนำเช็คให้กับเจ้าของบ้านหรือโครงการและเงินส่วนต่างที่ผู้ซื้อมอบให้เจ้าของบ้านหรือโครงการ เจ้าหน้าที่กรมที่ดินจะทำการสอบถามราคาซื้อขายและขอดูสัญญาซื้อขาย และแจ้งราคาประเมินขั้นต่ำเพื่อให้ผู้ขายเสียภาษี (ส่วนใหญ่ราคาจากกรมที่ดินจะถูกกว่าราคาประเมินมาก)

ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์

– ค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมิน (แล้วแต่นโยบายของรัฐ)
– ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขายที่สูงกว่า
– ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ อัตรา 3.3% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขายที่สูงกว่า สำหรับกรณีการซื้อบ้านจากนิติบุคคล
– ค่าจำนองอีก 0.01% (ผู้ซื้อออก เช่นซื้อ1.2 ล้านต้องจ่ายค่าจดจำนอง 12000บาท)
– ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีนิติบุคคลธรรมดาจะต้องชำระ 1% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขายในราคาที่สูงกว่า

เมื่อทำการจ่ายค่าโอนค่าจำนองหลังจากโอนกรรมสิทธิ์ให้กับกรมที่ดินแล้ว ผู้ซื้อจะได้เอกสาร พวกสัญญาซื้อขายคนละชุดกับสถาบันการเงิน สำเนาโฉนดที่ดิน (ตัวจริงอยู่กับสถาบันการเงิน) สัญญาลูกหนี้ และกุญแจบ้าน หลังจากนั้นผู้ซื้อก็ไปทำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับใหม่ที่อำเภอและย้ายตนเองเข้าเป็นเจ้าของบ้าน เป็นอันเสร็จสมบูรณ์ครับ

เรียบเรียงเนื้อหาและจัดทำรูปภาพโดย : Homezoomer.com