กรุงเทพมีพื้นที่สีอะไรบ้าง แล้วแบ่งสีไปทำไม
1.ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัย
มีถึง 3 โทนสี ตามความหนาแน่น สีเหลืองจะเป็นบริเวณที่มีความหนาแน่นต่ำ จัดว่าเป็นพื้นที่ค่อนข้างเคลื่อนไหวได้บ้าง ส่วนที่ดินสีส้ม จะมีความหนาแน่นปานกลาง เป็นโซนสีน้ำตาลโดยจะมีรหัสลับย่อยเข้าไปอีก เช่นสีเหลืองช่วงชานเมืองจะเป็น ย.1 – ย.4 โดยที่ดิน ย.1 และ ย.3 ประสงค์ให้มีสภาพแวดล้อมของการอยู่อาศัยที่ดี เพียงแต่ ย.4 เน้นให้ความสำคัญพื้นที่เขตชานเมือง บริการพวกระบบขนส่งมวลชน ส่วนที่ดิน ย.1ให้ความสำคัญกับการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเฉพาะบ้านเดี่ยว ส่วนทาวน์เฮาส์จะสร้างได้บนที่ดินรหัส ย.2
ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยสีส้ม มีความหนาแน่นปานกลาง สร้างได้หลายรูปแบบ กรุงเทพฯ ชั้นใน
ย.5-ย.7 เน้นเรื่องการขยายตัวในเมือง เขตนิคม อุตสาหกรรม ส่วน ย.7รองรับเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย และระบบขนส่งมวลชน
ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยสีน้ำตาล พื้นที่ที่มีความหนาแน่นผู้คนอาศัยอยู่มากในโซนชั้นใน
ย.8 – ย.10 ย.8 ที่ดินนี้จะให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมทัศนียภาพ ที่ดินรหัส ย.9 จะเน้นเมืองชั้นในเรื่องการบริการและการขนส่ง ส่วนที่ดิน ย.10 ในโซนเมืองชั้นในเป็นรอยต่อกับย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง และอยู่ในเขตให้บริการขนส่งมวลชน
2.ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม
อยู่ในที่ดินโซนสีแดง เน้นเพื่อการพาณิชย์ ตั้งแต่ พ.1 – พ.5 ตามลักษณะของทำเล พ.1 และ พ.2 อยู่แถวชานเมือง เน้นเพื่อกระจายการค้าเป็นศูนย์พาณิชยกรรมของชุมชน ส่วน พ.3 จัดไว้เพื่อประชาชนทั่วไป ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้อาศัยในพื้นที่ พ.4 เน้นบริการขนส่งมวลชนมีความสะดวกสบาย ส่วนพ.5 ให้ความสำคัญกับการเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ การค้า บริการ นันทนาการ และการท่องเที่ยวในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ดินสีแดงนี้สามารถสร้างที่อยู่อาศัยได้ แต่จำกัดมีพื้นที่น้อยกว่าที่ดินสีอื่น
3.ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม
ที่ดินโซนสีม่วง เน้นกิจกรรมอุตสาหกรรม อ.1 – อ.3 ที่ดินรหัส อ.1 เน้นกิจการที่มีมลภาวะต่ำ ที่ดิน อ.2 เน้นอุตสาหกรรมการผลิต และที่ดิน อ.3 สีเม็ดมะปรางสำหรับใช้เป็นพื้นที่คลังสินค้าสำหรับการขนส่งในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในความจริงแล้วที่ดินโซนนี้สามารถสร้างบ้านเดี่ยว หอพักได้เหมือนกันแต่ไม่สามารสร้างอาคารสูงหรือคอนโดได้
4.ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม
เน้นเพื่อการทำเกษตร ก.1-.3 สีเขียว ส่วน ก.4 และ ก.5 เน้นการสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติของพื้นที่ชนบทและแหล่งเกษตรกรรม ส่งเสริมให้เลี้ยงสัตว์น้ำเค็มและน้ำกร่อย รวมไปถึงการเกษตร
5.ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์และศิลปวัฒนธรรมไทย
กระจุกแถวเกาะรัตนโกสินทร์ เป็นที่ดินสีน้ำตาลอ่อน ส่งเสริมเอกลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรมของชาติ รวมถึงการพาณิชย์และการท่องเที่ยว ศ.1 และ ศ.2
6.ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เป็นที่ดินของรัฐ เพื่อราชการ เพื่อสาธารณะประโยชน์ เป็นที่ดินสีน้ำเงิน
สำหรับท่านใดต้องการทราบข้อมูลผังเมืองกรุงเทพฯสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับผังเมืองกรุงเทพมหานคร ได้ที่ http://cpd.bangkok.go.th:90/web2