เอกสารโอนกรรมสิทธิ์

เอกสารโอนกรรมสิทธิ์ ต้องเตรียมอะไรบ้าง

เอกสารโอนกรรมสิทธิ์ ต้องเตรียมอะไรบ้าง     

เอกสารโอนกรรมสิทธิ์ –  หลังจากที่คุณตัดสินใจจะซื้ออสังหาริมทรัพย์แล้ว จนมาถึงขั้นตอนการโอนกรรมสิทธิ์ คุณอาจจะกำลังงงๆ หรือกำลังสงสัยว่าจะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง วันนี้ Homezoomer มีคำตอบให้ค่ะ

 

เอกสารที่ใช้ในการโอนสำหรับบุคคลธรรมดา

1.โฉนดที่ดินฉบับจริง

2.สัญญาจะซื้อจะขาย

3.บัตรประชาชน พร้อมสำเนา 1 ชุด ผู้ซื้อผู้ขาย

4.ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา 1ชุด ของผู้ซื้อและผู้ขาย

5.หนังสือมอบอำนาจ (ทด.21) กรณีมอบอำนาจ

6.สำเนาบัตรประชาชนคู่สมรส (กรณีสมรส)

7.สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส (กรณีสมรส)

8.สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีสมรส)

9.หลักฐานเปลี่ยนชื่อสกุล กรณีเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนนามสกุล

เอกสารที่ใช้ในการโอนสำหรับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท

1.โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์

2.หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

3.หนังสือบริคณห์สนธิ และวัตถุประสงค์

4.บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น กรณีบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน จำกัด

5.แบบรับรองรายการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน กรณีห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนแล้ว

6.บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลไทยที่ถือหุ้นในบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน จำกัด ผู้ขอ

7.บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน และตัวอย่าง ลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคลรายงานการประชุมนิติบุคคล

ขั้นตอนในการโอนบ้าน ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

1.หลังจากเตรียมเอกสารเสร็จไปที่สำนักงานเขตที่อยู่ ติดต่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เพื่อตรวจเอกสารและรับบัตรคิว

2.เมื่อถึงคิวให้ผู้โอนและผู้รับโอนมาเซ็นเอกสารต่อเจ้าหน้าที่

3.เจ้าหน้าที่ประเมินทุนทรัพย์และค่าธรรมเนียมโอน แจ้งให้ทราบเพื่อนำไปชำระค่าโอนฝ่ายการเงิน

4.เมื่อชำระค่าธรรมเนียมแล้วจะได้ใบเสร็จ 2 ใบสีเหลืองกับสีฟ้า นำสีเหลืองคืนให้เจ้าหน้าที่ส่วนสีฟ้าถ่ายสำเนาให้ผู้ซื้อ

5.ขั้นตอนสุดท้าย เจ้าหน้าที่พิมพ์สลักหลังโฉนด แล้วรอรับโฉนดเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง แล้วจึงมอบโฉนดและสัญญาซื้อขาย (ทด.13) ให้แก่ผู้รับโอนหรือผู้ซื้อเป็นอันเสร็จสิ้นการโอน โฉนดนั้นก็จะเปลี่ยนกรรมสิทธ์เป็นของผู้รับโอนหรือผู้ซื้อเรียบร้อย

ค่าธรรมเนียมในการโอนบ้าน ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

1.ค่าธรรมเนียมการโอน 2%

ตัวอย่าง ราคาประเมิน 1,000,000 ราคาขาย 1,500,000 ให้ใช้ราคาที่สูงที่สุด คือ2% ของ 1,500,000 คือ 30,000 บาท

2.ค่าอากร 0.5%

ตัวอย่าง ราคาประเมิน 1,000,000 ราคาขาย 1,500,000 ให้ใช้ราคาที่สูงที่สุด คือ0.5% ของ 1,500,000 คือ 7,500 บาท

3.ค่าภาษี ธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาขาย

(กรณีซื้อมาแล้วขายออกในเวลา ไม่เกิน 5 ปี แต่จะได้รับการยกเว้นถ้ามีการย้ายทะเบียนบ้านมาเป็นเจ้าบ้าน เกินกว่า 1 ปี ถ้าเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะนี้แล้ว ไม่ต้องเสียค่าอากรในข้อ 2

4.ค่าภาษีเงินได้ (ภงด.)

5.ค่าคำขอ 20 บาท

6.ค่าอากร 5 บาท

7.ค่าพยาน 20 บาท

8.ถ้าบ้านหรือที่ดินที่จำนองธนาคาร เสียค่าจำนอง 1% ของมูลค่าจำนอง

สุดท้ายนี้ก่อนตัดสินใจจะซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียม ควรศึกษารายละเอียดค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆ ให้ดีๆ รวมถึงตกลงค่าโอน ว่าใครจะเป็นคนออกระหว่างผู้ซื้อหรือผู้ขายหรือจะออกกันคนละครึ่ง เพื่อตกลงค่าใช้จ่ายให้แน่นอนก่อนการซื้อจะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาทีหลังค่ะ